@mastersthesis {148, title = {พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2547}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การศึกษาครั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใน 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารจัดการด้านการบริหารกิจการนักเรียน และแนวทางการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในอนาคต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้คือ ผู้บริหาร โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ สาระในการสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนอาชีวเอกชนเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และทำการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนานัยสำคัญตามความคิดเห็นของผู้บริหารของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีความคิดเห็นจากพรราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน มีสาระดังนี้ 1. ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาและสอดแทรกหลักสูตรท้องถิ่น ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการ มีการประเมินคุณภาพภายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานมากกว่าเน้นวิชาการ 2. ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่าโรงเรียนต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น สูงมากแต่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีและบางครั้งประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากนโยบายการรับนักเรียนของรัฐบาล ไม่แน่นอน งบบริจาคเป็นทุนการศึกษาจากชุมชนค่อนข้างน้อยและการจัดสรรกำไร ที่รัฐบาลกำหนด 60 : 40 ไม่เป็นธรรม 3. ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่าบุคลากรที่ทำหน้าที่สอนมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสอน บุคคลกรต้องได้รับการพัฒนาโดยส่งเสริมให้ศึกษาต่อ และให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม 4. ด้านการบริหารจัดการ พบว่าโรงเรียนต้องบริหารงานในสภาพนิติบุคคล มีแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน ผู้บริหารต้องบริหารแบบมืออาชีพ เน้นการบริหารโดยยึดหลักประหยัดและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 5. ด้านการบริหารกิจการนักเรียน พบว่าการรับนักเรียนที่เหลือจากโรงเรียนรัฐบาล การบริการนักเรียน ได้จัดทุนการศึกษาให้ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและการบริการแนะแนว ให้นักเรียนได้รับรู้ เมื่อสำเร็จการศึกษาให้สามารถประกอบอาชีพได้ แนวทางการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต้องเป็นนิติบุคคล มีการบริหารงานแบบมีคณะกรรมการมีการตัดสินใจร่วมกัน และการประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา เพื่อทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน มีระบบมีมาตรฐานการยอมรับจากสังคม ให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ส่งผลดีให้กับโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ทำให้บุคคลสนใจมาเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนมากขึ้น}, keywords = {การบริหารการศึกษา, ผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา, พรบ.แห่งชาติ พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542, โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน}, author = {ประภาพรรณ รักเลี้ยง} }