@mastersthesis {407, title = {บทบาทที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา}, year = {2544}, school = {มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การศึกษาบทบาทที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริการให้สายอาชีพ การจัดกิจกรรมเด็ก เยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน และการบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม จารีต และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจำแนกเป็นหน่วยงานที่สังกัด และการมีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบริหาร ขององค์การบริหารส่วนปกครองส่วนจังหวัดสุโขทัย จำนวน 189 คน ได้มาโดยวิธีการสุมแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย พบว่าในด้านการจัดกิจกรรมเด็ก เยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน และด้านบำรุงรักษา ศิลปวัฒน-ธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านการบริการให้ความรู้สายอาชีพ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2. บทบาทที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามหน่วยงานที่สังกัด พบว่าบทบาทที่คาดหวังของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน มีเพียงบางเรื่องที่แตกต่างกันได้แก่ เรื่องส่งเสรืมสนับสนุนให้มีสื่ออุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้ประจำศูนย์ปฐมวัยอย่างเพียงพอเรื่องสนับสนุนการจัดการหาหนังสือเข้าห้องสมุด เรื่อง ส่งเสริมสนับสนุนครูผู้สอน พัฒนาการศึกษาโดยการให้ทุนศึกษาต่อ สนับสนุนการอบรม พัฒนาความรู้สำหรับครู เป็นต้น และการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนและโครงงานนักเรียน 3. บทบาทที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามการมีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา พบว่าบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา มีบทบาทที่คาดหวังสูงกว่า บุคลากรที่ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา ในด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนด้านอื่นๆพบว่าไม่แตกต่างกัน }, keywords = {การจัดการศึกษา, การศึกษา, การสอน, องค์การบริหารส่วนจำบล}, author = {ชัยวัฒน์, เวียงทอง} }