@mastersthesis {PSRU1079, title = {การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับสารเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2552}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, type = {วิทยานิพนธ์/thesis}, address = {จังหวัดพิษณุโลก}, keywords = {การดำเนินงาน, ผู้บริหารโรงเรียน, พิษณุโลก, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สารเสพติด}, author = {บัญชา, ว่องวิกย์การ} } @mastersthesis {78, title = {การศึกษาสภาพการดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1}, volume = {ปริญญาโท,ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2551}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาสภาพการดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 ประชากรที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถามสภาพดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 ใน 5 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติตามขั้นตอน ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอน ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการวัดผลและประเมินผลการนิเทศมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 มีการดำเนินงานนิเทศภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติงานมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการดำเนินงานนิเทศภายในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีระดับการปฏิบัติงานมากโดยเรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล รองลงมาคือด้านการปฏิบัติตามขั้นตอนการนิเทศภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนและด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศภายใน}, keywords = {การดำเนินงานนิเทศภายใน, นิเทศภายใน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สพฐ.สุโขทัย เขต 1, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1}, author = {โกศล, อินดี} } @mastersthesis {86, title = {การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขตที่ 2}, volume = {ปริญญาโท,ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2551}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในปีการศึกษา 2551 กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 การบริหารวิชาการ 12 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ประชาชนการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันที่จัดการศึกษา ในภาพรวมทุกด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีการปฏิบัติมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและด้านที่มีการปฏิบัติมากเป็นอันดับสุดท้าย คือ ด้านการนิเทศการศึกษา}, keywords = {การบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สพฐ.สุโขทัย เขต 2, สภาพการบริหารงานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขตที่ 2}, author = {สมศักดิ์, ชูช่วง} } @mastersthesis {142, title = {การศึกษาการบริหารงานในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2547}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการบริหารงานมนการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดพิษณุโลก ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป โดยจำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา ประสบการณ์ในการบริหารงานของผู้บริหาร และระดับของโรงเรียนที่เปิดสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 318 คน ได้มาโดยการสุ่มตาวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า แบะแบบคำถามปลายเปิดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test t-test และทดสอบรายคู่ โดยวิธีการของเชพเฟ่ (Scheffe{\textquoteright} Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดพิษณุโลกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารวิชาการ ตามลำดับ 2. ผู้บริหารที่อยู่ในเขตพื้นที่ต่างกัน มีการบริหารงานในการเป็นนิติบุคคลในภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหาร งานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารวิชาการ ไม่แตกต่างกัน 3. ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานต่างกัน มีการบริหารงานในการเป็นนิติบุคคล ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารวิชาการ มีการบริหารงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้บริหารที่ระดับโรงเรียนที่เปิดสอนแตกต่างกันมีการบริหารงานในการเป็นนิติบุคคลในภาพรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน 5. ผู้บริหารส่วนมาก มีความคิดเห็นว่าการบริหารงานในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา จะทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว จึงควรมอบอำนาจให้ผู้บริหารอย่างแท้จริง และควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน}, keywords = {การบริหารงาน, การบริหารงานในการเป็นนิติบุคคล, นิติบุคคล, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ในจังหวัดพิษณุโลก}, author = {ทองแดง มาดิษฐ์} } @mastersthesis {168, title = {การศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทรรศนะของข้าราชการครูในจังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2547}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทรรศนะของข้าราชการครูในจังหวัดพิษณุโลก รวม 8 ด้าน คือ บรรยากาศความสามัคคี บรรยากาศมีอุปสรรค บรรยากาศมีขวัญ บรรยากาศมิตรสัมพันธ์ บรรยากาศห่างเหิน บรรยากาศมุ่งงาน บรรยากาศเป็นแบบอย่างและบรรยากาศกรุณาปราณี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 357 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทรรศนะของข้าราชการครูในจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งงานต่างกัน มีทรรศนะต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านบรรยากาศมีขวัญ 3. ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีทรรศนะต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านบรรยากาศห่างเหิน 4. ข้าราชการครูที่สังกัดโรงเรียนขนาดต่างกัน มีทรรศนะต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05}, keywords = {จังหวัดพิษณุโลก, ตามทรรศนะของข้าราชการครู, บรรยากาศองค์การ, บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน}, author = {อำนวย, ศรีอาวุธ} }