@mastersthesis {200, title = {การศึกษาปัจจัยและแนวทางการดำเนินงานของหมู่บ้าน กข.คจ. ดีเด่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา}, volume = {ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2547}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ}, address = {พิษณุโลก}, abstract = { การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีติ่ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ) ของหมู่บ้าน กข.คจ. ดีเด่น ระดับจังหวัด และเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หมู่บ้านโครงการ กข.คจ.ทุกจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 จำนวน 6 จังหวัด 469 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ หมู่บ้านโครงการ กข.คจ.ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 จำนวน 6 จังหวัด ๆ ละ 1 หมู่บ้าน รวม 6 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 เป็นเครื่องมือในการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 และแบบสอบถามความคิดเห็นเพิ่มเตอมของหมู่บ้านตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 และนำเสนอข้อมูลในลักษณะของการบรรยายค่าร้อยละตามของเขตของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)ที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินได้ คือ ปัจจัยการนำเสนอโครงการและการอนุมัติเงินยืม ปัจจัยประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน ปัจจัยการจัดทำข้อมูลทะเบียนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านตามเกณฑ์ จปฐ. และปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อโ๕รงการและหมู่บ้าน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้องได้รับการพัฒนา คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของครัวเรือนในการใช้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพและการใช้คืนเงินยืม ปัจจัยการหมุนเวียนรอบยืมเงินและการให้โอกาสครัวเรือนเป้าหมายได้ยืมเงินยืมอย่างทั่วถึง ปัจจัยการติดตาม สนับสนุน กำกับดูแลครัวเรือนยืมเงินรายได้เพิ่มของครัวเรือนตามเกณฑ์ จปฐ. ที่กำหนด (เฉลี่ยเกินกว่า 15,00 บาท/คน/ปี) ปัจจัยการสนับสนุนส่งเสริม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้านและชุมชน และปัจจัยการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชน ที่สามารถขยายผลเป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านต่างๆ ได้พบว่า คณะกรรมการดองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้านยังไม่เข้าใจในการจัดทำป้ายหรือสมุดบันทึก ของผู้ที่จะได้ยืมในรอบถัดไป การเป็นเครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ.ระดับตำบล/อำเภอ และการติดตามเป็นประจำสม่ำเสมอ ประชุมทุกเดือน และยังต้องได้รับการช่วยเหลือ ในด้านการรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างใกล้ชิด สำหรับครัวเรือนยากจนยังไม่เข้าใจในการเลือกประกอบอาชีพเสริมและการทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ.ที่กำหนด (เฉลี่ยเกินกว่า 15,000 บาท/คน/ปี) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการติดตามและดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และติดตามการใช่จ่ายเงินให้เป็นไปตามโครงการ ตลอดจนให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพเสริมแก่ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย เพื่อให้สามารถนำเงินยืมไปลงทุนได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พ้นจากความยากจนตามเกณฑ์ จปฐ ที่กำหนด รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ รูปแบบที่ทำให้หมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการเตรียมความพร้อมแก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. และประชาชนให้ความเข้าใจถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ เงื่อนไขหลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินโครงการที่ชัดเจน ที่มีการพัฒนาศักยภาพและสร้างกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การใช้ข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญา เทคนิควิชาการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการกองกองทุนที่มีประสิทธิภาพ และประชากรทั่วไปสามารถบริหารจัดการทรัพยากร การประยุกต์ใช่วัฒนธรรมประเพณี ในการเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยต้นเองและเป็นตัวอย่างแก่ปมู่บ้านอื่นได้}, keywords = {การพัฒนาชนบท}, author = {สุนิมิต, ชุ่มพงษ์} }