@mastersthesis {202, title = { การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ.2545-2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว}, volume = {ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2547}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน ที่อยู่ระหว่างคุมความประพฤติในปี พ.ศ. 2545 {\textendash} 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุการกระทำผิดของเยาชน 2)เพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามรูปแบบที่กำหนด จำแนกตามโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมใจประสานใจกิจกรรมใบหน้าปริศนา กิจกรรมครอบครัวในดวงใจ กิจกรรมใจเขาใจเรา กิจกรรมคุณค่าแห่งใจ กิจกรรมซองความดี และกิจกรรมความคาดหวังในอนาคต และวัดความคิดเห็นของเยาวชนใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เยาวชนที่อยู่ระหว่าคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545-2645 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน 15 คน มาเป็นกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การทำกิจกรรมกลุ่มของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วัดระดับความคิดเห็นของเยาวชนหลังการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรม ต่อกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม และวัดความรู้ก่อนเรียน หลังเรียน ใน 3 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545 {\textendash} 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรมดังนี้ ดังนี้ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ กิจกรรมตราประจำตัว และความคิดเห็นต่ำสุดคือ กิจกรรมคุณค่าแห่งใจ 2. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545 {\textendash}2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กลุ่ม ด้านความรู้ก่อนการเรียน ระดับมาก 3 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ และระดับน้อย 2 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุด คือ เยาชนรู้จักการสังเกตการณ์จำเพื่อน และความคิดเห็นต่ำสุด คือ เยาวชนรู้จักวางแผนอนาคต ด้านความรู้หลังเรียน ระดับมากที่สุด 4 ข้อ ระดับมาก 6 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ เยาวชนรู้จักการอยู่ร่วมกับสมาชิก และความคิดเห็นต่ำสุดคือ เยาวชนรู้จักการมองคนในแง่ดี 3. เยาวชนที่อญู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ.2545 {\textendash} 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ด้านทักษะก่อนการเรียน ระดับปานกลาง 6 ข้อ และระดับน้อย 4 ข้อ โดยมีความคิดเห็นคือ เยาวชนนำเอาข้อดีของตนมาใช้ในสังคมได้ และความคิดเห็น ต่ำสุดคือ เยาวชนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านทักษะหลังการเรียน ระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 8 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ เยาวชนสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนำได้ดีเพราะได้รู้จักคนมากขึ้น และความคิดเห็นต่ำสุด คือ เยาวชนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ส .2545 {\textendash}2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ด้านการนำไปใช้ก่อนการเรียน ระดับปานกลาง 9 ข้อ และระดับน้อย 1 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุด คือ เยาวชนเป็นคนช่างสังเกต และความคิดเห็นต่ำสุดคือเยาวชนรู้จักการมีความหวังให้เป็นจริงได้ ด้านการนำไปใช้หลังการเรียน ระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 8 ข้อ โดยความเห็นสูงสุด คือ เยาวชนสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆได้ทุกสถานการณ์ และความคิดเห็นต่ำสุดคือ เยาวชนสามารถจำแนกข้อดีข้อเสียของสมาชิกในสังคมได้}, keywords = {ยาวชน}, author = {จิตราวรรณ เทียมสังวาลย์} }