@mastersthesis {245, title = {แนวทางการบริหารงานโรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2545}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาที่มีการจัดการศึกษาพิเศษและขนาดของโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียนทั้ง 6 ด้าน คืองานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียนงานอาคารสถานที่ งานการเงินและธุรการและ งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเด็กพิเศษ โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ที่มีการจัดชั้นเรียนร่วม ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดโรงเรียน และสุ่มอย่างง่าย จำนวน 248 คน โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดพิษณุโลก ที่มีการจัดชั้นเรียนร่วม ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาและสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดพิษณุโลก มีสภาพการดำเนินงานการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเด็กพิเศษ มีความเห็นว่าสภาพการดำเนินงานการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับ น้อยที่สุด 3. ผู้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ มีความเห็นว่าสภาพการดำเนินงานการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับน้อย และผู้ไม่ผ่านการอบรมมีความเห็นว่าสภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับน้อยที่สุด 4. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเด็กพิเศษโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความเห็นว่าสภาพการดำเนินงาน การจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษาอยู่ในระดับน้อย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเด็กพิเศษโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยที่สุด 5. โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา และสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน มีแนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 6. ผู้บริหารและครูสอนเด็กพิเศษ มีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 7. ผู้ผ่านการอบรมและผู้ไม่ผ่านการอบรม มีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนร่วมระดับประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 8. ผู้บริหารและครูผู้สอนเด็กพิเศษโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน โรงเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนร่วม ระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ ไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าในงานกิจการนักเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนาดกลาง มีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน แตกต่างกันที่ระดับ 0.05}, keywords = {การบริหารงานโรงเรียน}, author = {สุทธิวรรณ, ยิ้มสมบุญ} }