@mastersthesis {397, title = {การศึกษาความพร้อมในการประกันคุณภาพการศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา}, year = {2543}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยการศึกษาความพร้อมในการประกันคุณภาพการศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตรในความพร้อมด้านปัจจัย และความพร้อมด้านกระบวนการ เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร ในความพร้อมด้านปัจจัยและความพร้อมด้านกระบวนการและเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตรจำแนกตามขนาดโรงเรียน ในความพร้อมด้านปัจจัย และความพร้อมด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร ปีการศึกษา 2542 จำนวน 531 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน 180 คน ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t {\textendash} test และ F {\textendash} test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทัศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านปัจจัย อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทรรศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง 3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทัศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านปัจจัย แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทรรศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 5. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทัศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน ด้านปัจจัย แตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษามีทรรศนะต่อความพร้อมของโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 }, keywords = {ประกันคุณภาพการศึกษา}, author = {สมบูรณ์, โพธิ์ทอง} }