@mastersthesis {411, title = {การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดกำแพงเพชร}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์ศึกษา}, year = {2545}, school = {มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน การได้รับการอบรมการสอนวิทยาศาสตร์ สังกัด และที่ตั้งของโรงเรียนของครูวิทยาศาสตร์ประชากร คือ ครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชรและกรมสามัญศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 187 คน และกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูงเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะมาก 3 อันดับแรก คือ ทักษะด้านการทดลอง ทักษะด้านการจำแนกประเภท และทักษะด้านการสังเกต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01,3.91 และ 3.88 ตามลำดับ 2. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีเพศต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีอายุต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการทดลอง ด้านการตั้งสมมติฐาน ด้านการจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล และด้านการคำนวณ ส่วนทักษะกรับวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 4. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการสังเกต ด้านการตั้งสมมติฐาน และด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปร ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 5. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล ด้านการคำนวณ ด้านการพยากรณ์ และด้านการจำแนกประเภทส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 6. ครูวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการทดลองด้านการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริภูมิกับปริภูมิและระหว่างปริภูมิกับเวลา และด้านการจำแนกประเภท ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 7. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีสังกัดของโรงเรียนต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในภาพรวมด้านการทดลอง ด้านการลงความเห็นจากข้อมูล ด้านการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริภูมิกับปริภูมิและระหว่างปริภูมิกับเวลา และด้านการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 8. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีที่ตั้งโรงเรียนต่างกันมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการลงความเห็นจากข้อมูล ด้านการคำนวณ และด้านการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน }, keywords = {การศึกษาและการสอน, ครูวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์}, author = {นันทวัน, มาลยเวช} } @article {560, title = {สภาพปัจจุบันและความต้องการครูที่มีวุฒิด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสายสามัญในเขตจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย}, year = {2542}, month = {2542}, institution = {สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม}, type = {วิจัย}, address = {พิษณุโลก}, keywords = {การศึกษาระดับมัธยมศึกษา, ครู, ครูคณิตศาสตร์, ครูคอมพิวเตอร์, ครูวิทยาศาสตร์}, author = {อุไรวรรณ, วิจารณกุล} } @article {533, title = {การศึกษาวิเคราะห์สิ่งตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำหรับข้าราชการครูผู้สอนสายวิทยาศาสตร์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ}, year = {2541}, month = {2541}, institution = {สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม}, type = {วิจัย}, address = {พิษณุโลก}, keywords = {ครู, ครูวิทยาศาสตร์, สิ่งตอบแทน, แรงจูงใจ}, author = {สรรค์, วรอินทร์} }