@mastersthesis {3, title = {ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อที่ของผู้ประกอบการธุรกิจ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2557}, school = {Pibulsongkram Rajabhat University. Academic Resource \& Information Technology Center.}, type = {วิทยานิพนธ์/Thesis}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามประเภทธุรกิจ 3 ประเภท คือธุรกิจการผลิต ธุรกิจการพาณิชย์ และธุรกิจการบริการ กำหนดจำนวนตามโควตา(Quota) 30 ราย ซึ่งได้มาจากการเลือกจากผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการดำเนินธุรกิจ ตามประเภทธุรกิจ ธุรกิจละ 10 ราย ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 4 ด้าน ของผู้ประกอบการธุรกิจทั้ง 3 ประเภท มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนมาก ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ บริการหลักของระบบ ได้แก่ สัญญาณมีคุณภาพ มีช่องทางสัญญาณเพียงพอ เครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ มีการรับประกันคุณภาพ มีเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์เสริมจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม 2) ปัจจัยด้านราคา คือ ค่าบริการรายเดือนถูกและเลือกได้ ไม่ต้องคิดอัตราค่าบริการต่อนาที เงื่อนไขการชำระค่าบริการยืดหยุ่นได้ และยุติธรรม มีการชดเชยกรณีสายหลุด 3) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ทำเล ที่ตั้ง ศูนย์บริการ และหรือศูนย์ชำระค่าบริการ สะดวก หาง่าย มีศูนย์ชำระบริการ ศูนย์บริการลูกค้า จำนวนมาก 4) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด คือ ค่าบริการรายเดือนเหมาจ่าย มีโปรโมชั่นลดราคาค่าโทร มีการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ สื่อแผ่นพับ สื่อป้าย และการใช้พนักงาน นากจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจที่เป็นกลุ่มตัวอย่างยังให้ข้อเสนอแนะว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่สำคัญด้านโปรโมชั่น คือโทรออกไม่จำกัดเวลา เงื่อนไขโปรโมชั่นต้องชัดเจน แจ้งเตือนก่อนหมดโปรโมชั่น และมีโปรโมชั่นให้เลือกหลากหลาย ด้านเครือข่าย คือ พัฒนาเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาช่องสัญญาณให้ควบคู่กับโปรโมชั่น ด้านระบบ คือ นำระบบ 3G มาใช้ทุกพื้นที่ และด้านอื่นๆ คือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรมีความซื่อสัตย์กับลูกค้าในการคิดค่าบริการ}, keywords = {การตลาด, การตัดสินใจ, ผู้ประกอบการธุรกิจ, พิษณุโลก, ส่วนประสมทางการตลาด, เครือข่ายโทรศัพท์, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, เทศบาลนครพิษณุโลก}, author = {อนันต์, ทองน้อย} } @mastersthesis {7, title = {พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2557}, month = {2557-09-27}, school = { มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม}, type = {วิทยานิพนธ์/Thesis}, address = {พิษณุโลก}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ประจำที่และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามประเภทธุรกิจ คือธุรกิจการผลิต ธุรกิจการพาณิชย์ และธุรกิจการบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือผู้ประกอบการธุรกิจในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก กำหนดจำนวนตามความเหมาะสม 30 ราย ซึ่งได้มาโดยการเลือกจากผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้โทรศัพท์ทั้งสองประเภท ตามประเภทธุรกิจ ธุรกิจละ 10 ราย ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจทั้ง 3 ประเภท มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ประจำที่ใน 9 ประเด็น ส่วนมากได้แก่ 1) ใครเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้ คือ เจ้าของธุรกิจ 2) เหตุผลในการเลือกใช้ คือ เป็นเลขหมายประจำสำนักงาน ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ หมายเลข Call Center และสร้างความน่านับถือให้กับธุรกิจ 3. กิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ คือ รอรับสายเรียกเข้าและใช้เป็นเลขหมายกลางสำหรับโอนภายใน 4.ติดต่อสื่อสารกับใคร คือ ลูกค้า ร้านค้า คู่ค้า และธุรกิจ อื่นๆ 5. ติดต่อสื่อสารไปสถานที่ใด คือ กรุงเทพต่างจังหวัด 6. ใช้โทรศัพท์ในโอกาสใด คือ ใช้เป็นประจำ ปกติทุกวัน ตั้งแต่เปิด-ปิดสำนักงาน 7.ความถี่ในการใช้ต่อวัน ธุรกิจพาณิชย์และธุรกิจการบริการมีความถี่ใกล้เคียงกัน คือ 11-20 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ธุรกิจการผลิตมีความถี่ 21-30 ครั้งต่อวัน 8. ระยะเวลาการใช้ต่อครั้ง คือ 1-5 นาที ต่อครั้ง 9. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน คือ 107-200 บาทต่อเดือน ส่วนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ใน 9 ประเด็น ส่วนมากได้แก่ 1. ใครเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้คือเจ้าของธุรกิจ 2. เหตุผลในการเลือกใช้ คือค่าโทรถูก ประหยัด โทรเหมาจ่าย มีโปรโมชั่นให้เลือกควบคุมค่าใช้จ่ายได้ คุ้มค่า 3.กิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ คือโทรออก ติดต่อนัดหมายประสานงาน สั่งของติดตามงาน แจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ 4.ติดต่อสื่อสารกับใคร คือลูกค้า ร้านค้า คู่ค้า และธุรกิจอื่นๆ 5. ติดต่อสื่อสารไปสถานที่ใด คือ กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และโทรเข้ามือถือ 6.ใช้โทรศัพท์ในโอกาสใดคือ ใช้เป็นประจำ ปกติทุกวัน ตั้งแต่เปิด-ปิด สำนักงาน 7. ความถี่ในการใช้ต่อวัน ธุรกิจการผลิตและธุรการพาณิชย์มีความถี่ต่อวันใกล้เคียงกันคือ 6-10 นาทีต่อครั้ง ในขณะที่ธุรกิจการบริการมีระยะเวลาในการใช้มากกว่า 10 นาทีต่อครั้ง 9. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ธุรกิจพาณิชย์และธุรกิจการบริการมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือ 500 บาทต่อเดือนในขณะที่ธุรกิจการผลิตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 300-400 บาทต่อเดือ}, keywords = {จังหวัดพิษณุโลก, ผู้ประกอบการธุรกิจ, พฤติกรรมการใช้, พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์, เทศบาลนครพิษณุโลก}, author = {ทวีพร, ศรีโพธิ์ทอง} }