@mastersthesis {353, title = {การพัฒนาหลักสูตรและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก}, volume = {ครุศาสตรมหาบัณฑิต}, year = {2546}, month = { 2546-05-29}, type = {วิทยานิพนธ์/Thesis}, abstract = {การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพและความงามต้องการในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในโรงเรียนประถมศ฿กษา ในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และเพื่อสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 145 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 37 คน ครูผู้สอน จำนวน 322 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนราษฏร์อุทิศ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางกระทุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราน ประสิทธิภาพของหลักสูตร และค่าการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จำแนกได้เป็น 4 สาขา คือ สาขาหัตกรรมและอุตสาหกรรม สาขาแพทย์แผนไทย สาขาศาสนาและประเพณี และสาขาเกษตรกรรม 2. สภาพการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาพรวมพบว่ามีการนำมาใช้อยู่ในระดับปานกลาง 3. สภาพความต้องการในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาในภาพรวมพบว่ามีการนำมาใช้อยู่ในระดับปานกลาง 4. หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกที่สร้างขึ้นพบว่ามีประสิทธิภาพ 81.40 : 82.20 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหลังการใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางกระทุ่ม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางกระทุ่ม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .01}, keywords = {ภูมิปัญญาท้องถิ่น, โรงเรียนประถมศึกษา}, author = {ศรันยา, บัวเปรม} }