TY - THES T1 - การสร้างรูปแบบการบริหารงานธุรการของโรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร T2 - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ Y1 - 2551 A1 - ลักษณา คุณพระรักษ์ KW - การบริหาร KW - การสร้างรูปแบบการบริหารงาน KW - โรงเรียน AB - การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานของธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย และนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นหัวหน้าธุรการ หรือผู้แทนหัวหน้างานธุรการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานธุรการจากโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกแบบปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ การสร้างรูปแบบการบริหารงานธุรการของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งนี้มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างและนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานธุรการโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านการดำเนินงาน และด้านการประเมินผลปละปรับปรุงซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบ การจัดการห้องธุรการและรูปแบบการจัดห้องธุรการ อุปกรณ์สำนักงาน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ ความรู้ ความเข้าใจในกฎระเบียบของงานเจ้าหน้าที่ธุรการคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวนเขจ้าหน้าที่ธุรการ และงบประมาณสนับสนุน และบำรุงงานธุรการ 2. ด้านโครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย การจัดกำหนดสายงานธุรการ โครงสร้างบริหารงานธุรการ การกำหนดขอบเขตของแต่ละงาน การจัดบุคลากรเข้าฝ่ายงาน การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร การกำหนดขอบเขตของแต่ละฝ่ายงาน การจัดบุคลากร การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในโรงเรียนทราบถึงขอบข่ายหน้าที่ของแผนงานการปฏิบัติงานธุรการ 3. ด้านการดำเนินงานประกอบด้วยการกำกับควบคุมดูแลการปฏิบัติงานธุรการของบุคลากรให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด คู่มือแนวทางปฏิบัติงาน เอกสารแบบพิมพ์ต่างที่ใช้ในงานธุรการ การพัฒนาเจ้าหน้าที่งานธุรการ ให้มีมนุษยสัมพันธ์ในการบริการ และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน 4.ด้านการประเมินผล ประกอบด้วย วิธีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงงานธุรการ JF - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - จังหวัดพิษณุโลก VL - ครุศาสตรมหาบัณฑิต,ปริญญาโท ER -