TY - THES T1 - ารนำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลเอชน กรณีศึกษา : โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก) พิษณุโลก T2 - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ Y1 - 2551 A1 - มณีรัตน์ แก้วแสนสาย KW - เด็ก KW - โรงพยาบาลรัตนเวช AB - การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช (เด็ก) พิษณุโลก และนำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก) พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้รับบริการซึ่งมารับบริการตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2549 จำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก) พิษณุโลก สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่า t-test ขั้นตอนที่ 3 นำเสนอแนวทางพัฒนาพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก) พิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า 1.ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่เบิกค่ารักษาพยาบาลได้และผู้รับบริการที่เบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ที่มีต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก) พิษณุโลก ทั้ง 6 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเภสัชกรรม ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายกุมารแพทย์ และฝ่ายสนับสนุน พบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการทั้ง 2 กลุ่มในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการทั้ง 2 กลุ่มที่มีต่อพฟติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ทั้ง 6 ฝ่าย พบว่า ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเภสัชกรรม และฝ่ายพยาบาล ในภาพรวมมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ด้านฝ่ายกุมารแพทย์และฝ่ายสนับสนุนบริการ พบว่า มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน 3.แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนเวช(เด็ก)พิษณุโลก ควรมีแนวทางการพัฒนา คือ ควรมีกรจัดอบรมการพัฒนาพฤติกรรมเชิงรุกในองค์กร ให้กับเจ้าหน้าที่ใหม่ แพทย์นอกเวลา (part time) และเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของเจ้าหน้าที่ และควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการด้วย เพื่อจะได้นำผลที่ได้มาพัฒนาโรงพยาบาลต่อไป JF - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - จังหวัดพิษณุโลก VL - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ปริญญาโท ER -