TY - THES T1 - แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม Y1 - 2556 A1 - มาริน, จันทรวงศ์ KW - การทำงาน KW - คุณภาพชีวิต KW - บุคลากรสายสนับสนุน KW - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม KW - แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต KW - แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน AB - การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานตามความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัย ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีการศึกษา 2555 จำนวน 421 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน โดยจำแนกตามประเภทบุคลากรสายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายปิดใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคำถามปลายเปิดใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาแบบลงข้อสรุปและสรรพนามความ ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดซึ่งอยู่ในระดับดีเช่นกัน ได้แก่ “ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ” รองลงมาคือ “ด้านความภาคภูมิใจในองค์การ” ส่วนด้านที่คุณภาพชีวิตการทำงานนี้ระดับพอใช้มี 3 ด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ “ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม” รองลงมาคือความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน” และ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน “ ตามลำดับ 2. บุคลากรให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน คือ ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ได้แก่ ควรเพิ่มค่าแรงงานและปรับฐานเงินเดือนให้เท่าทันกับหน่วยงานอื่น ควรเพิ่มค่าครองชีพและเงินพิเศษในตำแหน่งเฉพาะทางให้เหมาะสมเพียงพอ ยุติธรรมและกระจายให้ทั่วถึง ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ควรมีวิธีการที่หลากหลายในการปรับปรุงแผนงานให้เหมาะสม และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน สรุปได้ส่า คือควรมีการกระจายให้เหมาะสมกับบุคคล และจัดให้มีโอกาสพักจริงในเวลาทำงาน PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - พิษณุโลก VL - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ER -