TY - THES T1 - การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Y1 - 2548 A1 - จิรภรณ์, เอมเอี่ยม KW - การทำวิจัยในชั้นเรียน KW - ครูผู้สอน KW - ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน KW - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน KW - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 AB - การวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอน สมการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคูรผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพึ้นที่การศึกษา พิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้าน การบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2547 จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (checkList) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scacle) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จูรปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณและการถดถอยพหุคูณ (Multiple correlation and Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนครูผู้สอนส่วนใหญ่เคยทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและ พัฒนาการ เรียนการสอน โดยส่วนใหญ่ทำครั้งเดียว และทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นกลุ่มกับเพื่อน ปัญหาที่นำมาทำวิจัยส่วนใหญ่ เป็นปัญูหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รองลงมาเป็นปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน เทคนิคและกระบวนการสอน สื่อและนวัตกรรม ส่วนครูผู้สอนที่ไม่เคยทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้วิธีการแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอน โดยการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่พบ ศึกษาเด็กเป็นรายกรณี และใช้ประสบการณ์เดิม ของครู 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู แยกเป็น 2 ปัจจัย คือ 2.1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี มีเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และมีความฉลาดทางอารมณ์ (ด้านการตั้งใจให้บรรลุเป้าหมาย) อยู่ในระดับสูง 2.2. ปัจจัยด้านการบริหารงาน ได้แก่ ครูผู้สอนมีความเห็นว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก การส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้บริหารอยู่ในระดับปานกลางและการพัฒนา บุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของคูรผู้สอนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาโดยการเข้าร่วมประชุมสัมมนา 3. ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน โดยตัวแปรด้านประสบการณ์การทำงานมี ความสัมพันธ์ทางลบ ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 27.80 โดยสามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์การทำวิจัยใน ชั้นเรียนของครูผู้สอนในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y = 1.789 + .652 x3 + .644 x7 1 .369 x1+ .779 x2 สมการในูรปคะแนนมาตรฐาน Y = .326 zx3 + .233 zx7 - .156 zx1 + .154z x2 PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - พิษณุโลก ER -