TY - THES T1 - ผลของการใช้การเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ และความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Y1 - 2550 A1 - รสริน ป้อมสาหร่าย KW - การเรียนแบบร่วมมือ KW - การใช้การเรียนแบบร่วมมือ KW - ความพึงพอใจ KW - ความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมือ KW - ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ KW - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 KW - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 KW - ภาษาอังกฤษ AB - การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการใช้การเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิณพลราษฎร์ตั้งตรงจิต 12 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวนนักเรียน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) มีขั้นตอนการทดลองดังนี้ จัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มละ 4 คน ให้มีทั้งนักเรียนที่มีพื้นฐานการพูดภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ สูง ปานกลาง และต่ำ ก่อนการทดลองใช้การเรียนแบบร่วมมือ ทดสอบความสามารถในด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียน(Pretest) และหลังการทดลอง ทดสอบ (Posttest) นักเรียนโดยใช้แบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนและทำแบบทดสอบถามความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย(x) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ทดสอบสมมุติฐานโดยการใช้สถิติทดสอบที แบบกลุ่มเดียวไม่เป็นอิสระต่อกัน t-test for Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยการใช้การเรียนแบบร่วมมือมีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - พิษณุโลก VL - ครุศาสตรมหาบัณฑิต ER -