TY - THES T1 - การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุโขทัย Y1 - 2547 A1 - สุเกียรติ, ด่านพิษณุพันธ์ KW - เกษตรทฤษฎีใหม่ AB - การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชัวิตเกษตรกรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุโขทัย การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรกคือ การศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการบริหารการจัดการน้ำและดิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการรวมกลุ่มเกษตรกร ด้านแหล่งทุนและการดำเนินธุรกิจ และด้านเศรษฐกิจจำแนกตามขนาดพื้นที่ทำการเกษตร รายได้สุทธิต่อปี และระดับอายุของเกษตรกร รายได้สุทธิต่อปี และระดับอายุของเกษตรกร ขั้นตอนที่สองเป็นการกำหนดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และขั้นตอนที่สามเป็นการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรทฤษฎีใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงาน ได้แก่ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุโขทัย จำนวน 222 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นชนิดที่เป็นสัดเป็นส่วน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการพัฒนาได้แก่เกษตรกร จำวน 15 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุโขทัยในภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านแหล่งทุนและการดำเนินธุรกิจ และด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาระดับมาก ส่วนด้านสภาพแวดล้อม ด้านการบริหารการจัดการน้ำและดิน ด้านการรวมกลุ่มเกษตรกร และด้านความรู้ความเข้าใจมีปัญหาระดับปานกลาง 2. เกษตรกรที่มีพื้นที่ทำการเกษตรต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านแหล่งทุนและการดำเนินธุรกิจ และด้านเศรษฐกิจมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่าง 3. เกษตรกรที่มีรายได้สุทธิต่อปีต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านแหล่งทุนและการดำเนินธุรกิจมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 4. เกษตรกรที่มีระดับอายุแตกต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ มี 4 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ การพัฒนาเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ 6. เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณทในแต่ละขั้นตอนพบว่าเกษตรมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ CY - พิษณุโลก VL - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ER -