TY - THES T1 - การศึกษาสภาพการจัดการเรียนร่วมและความต้องการการนิเทศในโรงเรียนแกนนำด้านการศึกษาพิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดพิษณุโลก T2 - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. Y1 - 2547 A1 - วีระดี, กองแก้ว KW - การเรียนร่วม AB - การศึกษาสภาพการจัดการเรียนร่วมและความต้องการการนิเทศในโรงเรียนแกนนำด้านการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีจัดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพจริงของการจัดการเรียนร่วมและเพื่อศึกษาความต้องการด้านการนิเทศการศึกษาตามสภาพจริงของผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนแกนนำด้านการศึกษาพิเศษ พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน ครูผู้สอน จำนวน 9 คน และผู้ปกครอง จำนวน 9 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) รวมทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองโดยรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ด้วยตนเองจากโรงเรียน 9 โรง ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงโดยการตีความและสร้างข้อสรุปจากข้อมูลโดยเขเยนเป็นตารางแบบหาค่าร้อยละแบบข้อเท็จจริง ที่ปรากฏและเขียนแบบเรียงนำเสนอแบบพรรณนานาวิเคราะห์ตามสภาพความเป็นจริง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนร่วมของสถานศึกษา พบว่ามีอาคารสถานที่ มีการให้บริหารสื่อและสิ่งจำเป็น มีห้องเสริม มีการสรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานทุกโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบการศึกษาพิเศษ มีวุฒิการศึกษาพิเศษ โดยได้รับการอบรมและการศึกษาดูงานมีครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและทุกโรงเรียนมีผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนร่วม 2. ความต้องการด้านการนิเทศ พบว่า 2.1 ด้านการจัดการเรียนการสอน มรนโยบายการจัดการเรียนร่วมผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการคำชี้แจง เกี่ยวกับนโยบายการจัดการเรียนร่วม ผู้ปกครองต้องการเพียงส่งบุตรหลาน เข้าเรียน มีการประ ชาสัมพันธ์ ผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการได้รับการสนับสนุนวิธีการประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่างๆ และผู้ปกครองต้องการ ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกัน มีการจัดสภาพ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการจดสถานที่ ที่เป็นสัดส่วนและเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำจากหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษครูผู้สอนต้องการพัฒนาความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ปกครองต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำจากหน่วยงานต่างๆ มีการให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องผู้บริหารต้องการให้มีการจัดการอบรมแก่คณะครูทุกคนอย่างทั่วถึง ครูผู้สอนต้องการให้มีการจัด อบรม การศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 2.2 ด้านหลักสูตรและการใช้หลักสูตร ผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการหลักสูตรเฉพาะทางให้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมในโรงเรียน พร้อมทั้งต้องการให้ครูทุกคนมีความเข้าใจในการจัดการเรียนร่วมและผู้ปกครองต้องการเพียงให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสม 2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้บริหารต้องการการนิเทศจากหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนโดยตรงหรือบุคลากรทางการศึกษาในการให้ความรู้ ครูผู้สอนมีความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้รับการยอมรับจากสังคม มีเพื่อนและได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม 2.4 ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ผู้บริหารต้องการงบประมาณในการจัดซื้อ จัดหา สื่อและอุปกรณ์ ครูผู้สอนต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนจากโรงเรียนเฉพาะทางหรือโรงเรียนที่ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษและผู้ปกครองต้องการสื่อและอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับบุตรหลาน 2.5 ด้านการวัดผลประเมินผลผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการได้รับการนิเทศเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจนมีความเป็นมาตรฐานในแนวเดียวกันผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานของตนได้รับการพัฒนาตามแนวทางของโรงเรียน JF - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. CY - พิษณุโลก. VL - ครุศาสตรมหาบัณฑิต ER -