TY - THES T1 - การศึกษาปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย T2 - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ Y1 - 2551 A1 - สุทิน พรจันทรารักษ์ KW - ประกันคุณภาพการศึกษา KW - ผู้บริหารสถานศึกษา AB - การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมี3 ด้าน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้เรียน จำแนกตามตำแหน่งงาน วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวนทั้งสิ้น 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test การวิเคราะห์ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านของคุณภาพมาตรฐาน พบว่า คุณภาพมาตรฐานที่มีปัญหามากที่สุดคือ คุณภาพมาตรฐานด้านผู้เรียน รองลงมาคือ คุณภาพมาตรฐานด้านครู และคุณภาพมาตรฐานด้านผู้บริหาร 2. การเปรียบเทียบปัญหาการประกันคุณภาพตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่งงาน วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมทุกด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่ทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาต่อปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ในด้านผู้เรียนมาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรมอบหมายงานตามความถนัด ควรได้รับการพัฒนาด้านการบริหารเพิ่มเตอม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาด้านครูผู้สอนควรจัดการอบรมพัฒนาความรู้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจัดจำนวนครูให้เพียงพอตามเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการครู ลดภาระงานของครู จัดหาแหล่งการเรียนรู้และส่งเสริมสื่อเทคโนโลยีให้เพียงพอ ด้านผู้เรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำนึกรักในท้องถิ่น ฝึกทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ มีการประเมินผลตามสภาพจริงของผู้เรียน และควรมีการกำหนดเกณฑ์อายุของผู้เรียนอย่างชัดเจน JF - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - จังหวัดพิษณุโลก VL - ครุศาสตรมหาบัณฑิต,ปริญญาโท ER -