TY - THES T1 - การศึกษาปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก T2 - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม Y1 - 2543 A1 - อัศวิน, นิลเต่า KW - จิตพิสัย KW - จิตวิทยาการศึกษา AB - จุดมุ่งหมายของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก 2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามหมวดวิชาของครูผู้สอนและขนาดของโรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่ง ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยตามตารางของเครซี่และมอร์แกน จากนั้นนำมาสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 307 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและขนาดของโรงเรียน ลักษณะของแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูที่มีต่อปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ใน 5 ด้าน ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ ความมีน้ำใจ ความมีวินัย ความเป็นไทย และการบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัย 1. การศึกษาความคิดเห็นของครู ที่มีต่อปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ใน 5 ด้านพบว่า ด้านความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความมีน้ำใจ ด้านสนความมีวินัย ด้านความเป็นไทย และด้านบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทยมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ใน 5 ด้านพบว่า ด้านความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ ด้านความมีน้ำใจ ด้านสนความมีวินัย ด้านความเป็นไทย และด้านบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย ครูผู้สอนหมวดวิชาสังคมศึกษาและครูผู้สอนหมวดวิชาสามัญทั่วไป มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกันทุกด้าน 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ที่ต่อปัญหาการปลูกฝังจิตพิสัยแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ใน 5 ด้านพบว่า ด้านความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ ด้านความมีน้ำใจ ด้านสนความมีวินัย ด้านความเป็นไทย และด้านบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกันทุกด้าน JF - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - พิษณุโลก VL - ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา ER -