TY - THES T1 - การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา จังหวัดพิษณุโลก Y1 - 2558 A1 - สานกิ่งทอง, สุชาติ KW - การลงทุน KW - การลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา KW - ความเป็นไปได้ KW - จังหวัดพิษณุโลก KW - ยางพารา KW - อุตสาหกรรมเกษตร KW - อุตสาหกรรมเกษตรยางพารา AB - การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา จังหวัดพิษณุโลก โดยได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอน 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอุสาหกรรมเกษตรยางพารา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลบริบทอุตสาหกรรมยางพาราจากเอกสาร การสัมภาษณ์ หน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรยางพาราทั้งใน และนอกจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา จังหวัดพิษณุโลก โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ในด้านสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของจังหวัดพิษณุโลก ด้านสภาพการปลูกยางพาราในจังหวัดพิษณุโลก ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการเงิน และด้านการบริหารจัดการ เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรยางพารา จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า สภาพพื้นที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศจังหวัดพิษณุโลก บริเวณเขตอำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวัดโบสถ์ มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมแก่ยางพารา และในปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวน 44,777 ไร่ ซึ่งในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าจังหวัดพิษณุโลกจะมีศักยภาพในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรยางพาราเชิงพาณิชย์ได้โดยเริ่มต้นที่กำลังการผลิต 40 ตันต่อวัน ราคายางพาราแผ่นดิบรมควันชั้น 3 จะ อยู่ที่ราคา 76 – 78 บาทต่อกิโลกรัม และการลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรยางพาราในจังหวัดพิษณุโลก จะใช้เงินทุนประมาณ 72,792,000 บาท และในอีก 10 ปีข้างหน้ากำลังการผลิตจะเป็น 100 ตันต่อวัน โดยราคายางพาราแผ่นดิบรมควันชั้น 3 จะอยู่ที่ราคา 80-90 บาทต่อกิโลกรัม และคาดหวังว่าจะต้องใช้เงินลงทุน 12,399,200 บาท โดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน 20.90% และระยะเวลาการคืนทุน 8.84 ปี . PB - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม CY - พิษณุโลก VL - ปริญญาโท ER -