%0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2559 %T การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกในการนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ในการบริหารภาครัฐแนวใหม่ %A นนทพรรณ์, ธนบุณยเกียรติ์ %K การบริหารภาครัฐแนวใหม่ %K ความคิดเห็นของประชาชน %K หลักทศพิธราชธรรม %K เทศบาลนครพิษณุโลก %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการนำหลักทศพิธราชธรรม ไปใช้ในการบริหารงานของเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำหลักทศพิธราชธรรมไปใช้ในการบริหารงานของเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานของเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาดด้วยตารางสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่จำนวน400คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยนำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน โดยการหาค่าสถิติทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ศึกษาระดับการนำหลักทศพิธราชธรรม ไปใช้ในการบริหารงานของเทศบาลพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านทาน อยู่ในระดับมาก และรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านศีล ด้านอักโกธะ ด้านมัททวะ ด้านอวิโรธนะ ด้านขันติ ด้านปริจจาคะ ด้านอาชชวะ ด้านอวิหิงสา และด้านตะปะ 2.เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ในการนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ ในการบริหารภาครัฐแนวใหม่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษารายได้ อาชีพ และประสบการณ์ในการทำงาน มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกในการนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ในการบริหารภาครัฐแนวใหม่ 3.ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกคือ ควรให้มีการพัฒนาในแต่ละด้านดังนี้ ด้านทาน ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการกองทุนสวัสดิการ ทางสังคมให้แก่คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ด้านศีล ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดโครงการอบรมคุรธรรมจริยธรรม ด้านปริจาคะ ควรให้ผู้ให้บริการมีการเกื้อกูลค้ำจุนผู้ที่ขัดสนขาดแคลน ด้านอาชชวะ ควรให้ผู้ให้บริการมีความชื่อสัตว์ต่อตนเองและผู้อื่น ด้านมัททวะ ควรให้ผู้ให้บริการพลอยยินดีเสมอเมื่อผู้อื่นได้ดี ด้านตปะ ควรให้ผู้ให้บริการมีความปรารถนาให้ประชาชนพ้นทุกข์จากปัญหาต่างๆ ด้านอักโกธะ ควรให้ผู้ให้บริการเมื่อมีปัญหาสามารถชี้แจงเหตุผลทำความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายและหาทางแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ด้านอวิหิงสา ควรให้ผู้ให้บริการให้บริการเป็นกลาง และชอบธรรมกับผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเสมอภาค ด้านขันติ ควรให้ผู้ให้บริการไม่ละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ด้านอวิโรธนะ ควรให้ผู้ให้บริการไม่เป็นคนที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานขององค์กรปกครองท้องถิ่นภายใต้การบริหารงานของเทศบาลนครเมืองพิษณุโลกให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับมุ้งหวังเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการแก่ประชาชน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis