%0 Thesis %D 2554 %T การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %A อนุสรณ์, ประสารภักดิ์ %K การบริหารสถานศึกษา %K ผู้บริหารสถานศึกษา %K สพฐ.พิษณุโลก เขต 2 %K สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %K แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการบริหารศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตาม ประสบการณ์บริหารสถานศึกษาและขนาดของโรงเรียน เก็บข้อมูลจากประชากร ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 125 คน โดยเครื่องมือใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Raring scale) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 125 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการบริหาร ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 68 มีวุฒิการศึกษาปริญญาโทขึ้นไปอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน พบว่ามีสภาพการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก 2.การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตาม ประสบการณ์บริหารสถานศึกษาและขนาดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 มีสภาพการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมและรายด้านจำแนกตามประสบการณ์บริหารสถานศึกษา ต่ำกว่า 10 ปี และตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป อยู่ในระดับมาก และสภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 มีสภาพการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมและเป็นรายด้าน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %8 2557-05-01 %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis %0 Thesis %D 2550 %T การพัฒนาระบบการบริหารการจัดการคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประชาสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %A ธนรัตน์, มังคะโชติ %K การจัดการคุณภาพการศึกษา %K การจัดการเรียนรู้ %K การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ %K ระบบการบริหารการจัดการคุณภาพการศึกษา %K สพฐ.พิษณุโลก เขต 2 %K สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %K โรงเรียนประชาสามัคคี %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและทดลองใช้ติดตามประเมินผลระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประชาสามัคคีโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2548 จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบทอสอบ วิเคราะหืข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ นักเรียนมีปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ขาดคุณลักษณะสำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีภาระงานสอนและงานมากเป็นพิเศษ และยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ได้ระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีกระบวนการ 7 ขั้นตอนดังนี้ คือ การจัดโครงสร้างองค์กร การวางแผน การดำเนินการพัฒนาทีมงาน การนิเทศแบบกัลยาณมิตร การประเมินเพื่อทบทวน การปรับปรุง และการสรุปรายงาน ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่า ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับดี ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถจัดทำรายงานวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมที่ดีขึ้นตามจุกประสงค์ที่กำหนด %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %G eng %0 Thesis %D 2547 %T การมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %A ไพบูลย์ ศรีอรุณ %K การบริหารและจัดการศึกษา %K การมีส่วนร่วม %K การมีส่วนร่วมการบริหารและจัดการศึกษา %K คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน %K สพฐ.พิษณุโลก เขต 2 %K เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %X การวิจัยการมีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เพื่อเปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ที่เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. 2544 ในปีการศึกษา 2545 จำนวน 22 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง (Simple Random Sampling) โรงเรียนละ 9 คน รวมทั้งสิน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการตรวจสอบค่า t และค่า F ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในภารกิจด้านการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา ภารกิจด้านการจัดการเกี่ยวกับเด็กในเขตบริการ ภารกิจด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและสืบสานจารีต ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ภารกิจด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน และภารกิจด้านการใช้ความเห็นชอบ รายงานการดำเนินการประจำปีของสถานศึกษา การแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ และการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมาก ส่วนภารกิจด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับแผนของสถานศึกษา และภารกิจด้านการบริหารจัดการงาน 4 ด้านของสถานศึกษาได้แก่ งานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุและวุฒิการศึกษา พบว่า 2.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษา ในภารกิจด้านการจัดการเกี่ยวกับเด็กในเขตบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภารกิจอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 2.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาในทุกภารกิจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ภารกิจด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับแผนของสถานศึกษา ภารกิจด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา ภารกิจด้านการบริหารการจัดการงาน 4 ด้าน ของสถานศึกษาได้แก่ งานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ภารกิจด้านการจัดการเกี่ยวกับเด็กในเขตบริการ และภารกิจด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และสืบสานจารีต ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนภารกิจด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน และภารกิจด้านการให้ความเห็นชอบรายงานการดำเนินการประจำปีของสถานศึกษา การแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ และการปฏิบัติงานตามี่ได้รับมอบหมาย จากหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %G eng