%0 Thesis %D 2550 %T แนวทางการพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดของการค้ารถยนต์มือสอง ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก %A กุสุมา, แก้วบุรี %K การค้ารถยนต์มือสอง %K การพัฒนาส่วนผสมทางการตลาด %K จังหวัดพิษณุโลก %K ส่วนผสมทางการตลาด %K อำเภอเมือง %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพในการดำเนินธุรกิจการค้ารถยนต์มือสองและนำเสนอแนวทางพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดของการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินธุรกิจการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินธุรกิจการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามประสบการณ์และระดับการศึกษาของผู้ประกอบการค้ารถยนต์มือสอง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การทดสอบค่า t-test ขั้นตอนที่ 3 นำเสนอแนวทางพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดของการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการดำเนินธุรกิจการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ก้านทำเลที่ตั้ง และด้านการส่งเสริมการขาย พบว่า ผู้ประกอบการค้ารถยนต์มือสองมีการดำเนินธุรกิจในภาพรวม มีสภาพการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินธุรกิจการค้ารถยนต์มือสองในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามประสบการณ์และระดับการศึกษาของผู้ประกอบการค้ารถยนต์มือสอง พบว่าการเปรียบเทียบสภาพดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจำแนกตามประสบการณ์ทั้ง 2 กลุ่ม การดำเนินงานในภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจำแนกตามระดับการศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม การดำเนินงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 3. การนำเสนอแนวทางการพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดของการค้ารถยนต์มือสองเพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและช่วยแกไขปัญหาในตลาดที่มีคู่แข่งขันสูง ซึ่งตลาดหแบบเก่าจะมีการพัฒนา ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย/ทำเลที่ตั้ง และด้านการส่งเสริมหารขาย แต่การตลาดสมัยใหม่จะมุ่งเน้นการพัฒนาส่วนผสมทางการตลาด4P’ ควบคู่การพัฒนาสินค้า การบริการการสร้างความพึงพอใจ การบริการหลังการขายและการสร้างทัศนคติที่ดีที่ลุกค้ามีให้ผู้ประกอบการ และมีความเชื่อมั่นต่อแบรนด์สินค้า ซึ่งแนวทางการพัฒนามีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจได้ %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต %G eng