%0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2545 %T ความต้องการในการอบรมของครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตนั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก %A สมศักดิ์, ก้อนเพ็ชร์ %K กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต %K ครูประถมศึกษา %K โรงเรียนประถมศึกษา %X การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการในการอบรมของครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบความต้องการในการอบรม จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการสอน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2543 จำนวน 230 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตามตัวแปร ใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความต้องการ การอบรมมากที่สุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านหลักสูตรตามลำดับ 2. ครูผู้สอน เพศชายและเพศหญิง มีความต้องการการอบรมในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความต้องการการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านการวัดผลและประเมินผล โดยครูหญิงมีความต้องการการอบรมมากกว่าครูชาย 3. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความต้องการการอบรมในภาพรวมไม่ต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความต้องการการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านหลักสูตร โดยครูที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 10 ปี มีความต้องการการอบรมมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป 4. ครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความต้องการการอบรมในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านที่มีความต้องการแตกต่างกันคือ ด้านหลักสูตรด้านการจัดตารางการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล โดยครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลางมีความต้องการการอบรมสูงกว่าครูที่อยู่โรงเรียนขนาดเล็ก %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng