%0 Thesis %D 2555 %T การพัฒนาชุดตรวจสอบข้าวเก่าอย่างง่าย %A อรรถพร ,ปัญญา %K การพัฒนาชุดตรวจสอบ %K การพัฒนาชุดตรวจสอบข้าวเก่า %K ข้าว %K ข้าวเก่า %X ข้าวเก่าเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากหุงขั้นมอ ร่วน ไม่แฉะ การตรวจสอบหาความใหม่ความเก่าของข้าว โยทั่วไปมักจะใช้วิธีการหุงและการชิม ซึ่งมีข้อจำกัดคือใช้เวลาในการตรวจสอบ จำเป็ฯต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญและผลทดสอบไม่สามารถเปรียบเทียบได้ทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยนี้ทดสอบประสิทธิภาพการตรวจความให่-ความเก่าของข้าวโดยใช้ชุดทดสอบทางเคมี 2 แบบ แบบที่ 1 การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ เนื่องจากเอ็นไซม์ไลเปสจะทำงานและเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้เป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะทำให้ผิวของข้าวมีสภาพเป็นกรดเพิ่มมากขั้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา และแบบที่ 2 การลดลงของกิจกรรมของเอ็นไซม์เพอร์ออกซิเดชั่น นำชุดทดสอบทั้ง 2 แบบ ไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในตัวอย่างข้าว 6 พันธุ์ เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 ชัยนาท 1 ชัยนาท 2 พิษณุโลก 2 และข้าวเหนียว 2 พันธุ์ ได้แก่ สันป่าตอง และ กข 6 โดยเก็บรักษาในสภาพข้าวเปลือกและข้าวสารเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่สภาพอุณหภูมิห้อง (25-30 องศาเซลเซียส) สุ่มตัวอย่าง มาตรวจสอบคาดัชนีความใหม่-เก่าโยวิธีการทั้ง 2วิธีทุกสัปดาห์ 2สัปดาห์ พบว่า ชุดทดสอบทั้ง 2 แบบ สามารถตรวจสอบความใหม่-ความเก่าของข้าวได้โดยสารละลายผสมในชุดทดสอบให้สีเปลี่ยนแปลงไปตามอายุการเก็บรักษาของตัวอย่างข้าวซึ่งสามารถวัดความแตกต่างได้โดยใช้การวัดค่าการดูดกลืนแสง นอกจากนั้นยังพบตัวอย่างข้าวที่เก็บในสภาพข้าวเปลือกให้ผลการทดสอบสม่ำเสมอกว่าตัวอย่างข้าวที่เก็บในสภาพข้าวสาร โดยวิธีการแบบที่ 1 เป็นวิธีการที่ให้ผลเป็นที่ยอมรับ เป็นวิธีแนะนำใช้ในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและราคาถูก %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต %8 2557-04-01 %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis