%0 Thesis %D 2551 %T การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %A วิษณุ, สร้อยมี %K การบริหาร %K พิษณุโลก %K ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน %K สถานศึกษา %K สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C เมืองพิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ %D 2551 %T การสร้างรูปแบบการบริหารงานธุรการของโรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร %A ลักษณา คุณพระรักษ์ %K การบริหาร %K การสร้างรูปแบบการบริหารงาน %K โรงเรียน %X การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานของธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย และนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นหัวหน้าธุรการ หรือผู้แทนหัวหน้างานธุรการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานธุรการจากโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกแบบปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ การสร้างรูปแบบการบริหารงานธุรการของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งนี้มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างและนำเสนอรูปแบบการบริหารงานธุรการ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานธุรการโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านการดำเนินงาน และด้านการประเมินผลปละปรับปรุงซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบ การจัดการห้องธุรการและรูปแบบการจัดห้องธุรการ อุปกรณ์สำนักงาน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ ความรู้ ความเข้าใจในกฎระเบียบของงานเจ้าหน้าที่ธุรการคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวนเขจ้าหน้าที่ธุรการ และงบประมาณสนับสนุน และบำรุงงานธุรการ 2. ด้านโครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย การจัดกำหนดสายงานธุรการ โครงสร้างบริหารงานธุรการ การกำหนดขอบเขตของแต่ละงาน การจัดบุคลากรเข้าฝ่ายงาน การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร การกำหนดขอบเขตของแต่ละฝ่ายงาน การจัดบุคลากร การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในโรงเรียนทราบถึงขอบข่ายหน้าที่ของแผนงานการปฏิบัติงานธุรการ 3. ด้านการดำเนินงานประกอบด้วยการกำกับควบคุมดูแลการปฏิบัติงานธุรการของบุคลากรให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด คู่มือแนวทางปฏิบัติงาน เอกสารแบบพิมพ์ต่างที่ใช้ในงานธุรการ การพัฒนาเจ้าหน้าที่งานธุรการ ให้มีมนุษยสัมพันธ์ในการบริการ และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน 4.ด้านการประเมินผล ประกอบด้วย วิธีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงงานธุรการ %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C จังหวัดพิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต,ปริญญาโท %8 2551-12-28 %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2549 %T ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นของภาคเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2548 %A อารีย์, เพลินชัยวาณิช %K การบริหาร %K ผู้บริหารโรง %X ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจัยในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นของภาคเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2548 ศึกษาสภาพความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ดีเด่น และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่น โดยกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช ้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นของภาคเหนือ ตอนล่าง ปีการศึกษา 2548 จำนวน 19 โรง รวม 373คนโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ เป็น แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรูฐานและการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจัยในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นของภาคเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2548 ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ดีและจำเป็นของผู้บริหาร ด้านคุณลักษณะที่จำเป็นของครูด้าน การจัดหรือใช้สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาและด้านการบริหาร แบบมีส่วนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท ( SEAT ) ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สภาพความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านความพึงพอใจที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนร่วมและความก้าวหน้าของเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นในภาพรวม คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) และด้านคุณลักษณะที่จำเป็นของครู (TEACHER) ได้สมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ดังนี้ ถ้า ŷ และ ẑ หมายถึง ความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นในภาพรวมที่ ได้จากการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และในรูปคะแนนมาตรฐาน ตามลำดับ จะได้สมการ คือ ŷ = 0.87 + 0.45 SEAT + 0.33 TEACHER ẑ = 0.5l ZSEAT + 0.35 ZTEACHER %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %G eng %0 Thesis %D 2548 %T สภาพปัญหาการบริหารงานโครงการอนามัยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 %A วราภรณ์, วารี %K การบริหาร %K การศึกษา %K พิษณุโลก %K สภาพปัญหาการบริหาร %K โครงการอนามัยโรงเรียน %I มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม %C เมืองพิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %G eng %U http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/946 %9 วิทยานิพนธ์/Thesis %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2546 %T คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร %A ชูศักดิ์, พุทธเกษม %K การบริหาร %K การศึกษาขั้นพื้นฐาน %K คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน %K โรงเรียนประถมศึกษา %X การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชน รวม 549 คน เก็บข้อมูลได้เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชน คิดเป็นร้อยละ 98.92 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า F-test ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชน มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถและด้านบทบาทหน้าที่ในระดับมาก การเปรียบเทียบทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชน ที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถและด้านบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการและผู้นำชุมชนจากโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลาง มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านความเป็นผู้นำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่ มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรู้ความสามารถ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกัน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2545 %T คุณลักษณะที่เป็นจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในทรรศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย %A ดำรงฤกษ์, กลิ่นแก้ว %K การบริหาร %K ผู้บริหารโรงเรียน %K โรงเรียนประถมศึกษา %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่เป็นจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในทรรศนะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย เกี่ยวกับคุณลักษณะ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามรถในการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านส่วนตัวและครอบครัว โดยจำแนกตามตำแหน่งการบริหารงานและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย ปีการศึกษา 2543 จำนวน 351 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะที่เป็นจริงของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดำรงตำแหน่งต่างกัน มีทรรศะต่อคุณลักษณะที่เป็นจริงของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอไม่แตกต่างกัน 4. ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดำรงตำแหน่งต่างกัน มีทรรศะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีทรรศะต่อคุณลักษณะที่เป็นจริงของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอไม่แตกต่างกัน 6. ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีทรรศะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2545 %T บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและอาจารย์ สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กลุ่มภาคเหนือ %A วิรุฬพร, แก้วกล้า %K กองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กลุ่มภาคเหนือ %K การบริหาร %K ผู้บริหารโรงเรียน %K วิจัยในชั้นเรียน %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนะของผู้บริหารและอาจารย์สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กลุ่มภาคเหนือ ที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน การมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน การความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน โดยจำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มวิชาที่สอน วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์ สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กลุ่มภาคเหนือ จำนวน 236 คน เป็นผู้บริหารจำนวน 73 คน และอาจารย์จำนวน 163 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test (One way ANOVA) และทดสอบรายคู่ โดยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารและอาจารย์ มีทัศนะต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยใน ชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารและอาจารย์ มีทัศนะต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. อาจารย์ที่สอนกลุ่มวิชาต่างกัน และมีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5. อาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2544 %T ความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 7 %A มยุรี, ประทุมมาศ %K การบริหาร %K ครู %X การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 7 ใน 4 ด้านคือ ด้านส่งเสริมการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านกิจการนักศึกษา และด้านการวางแผนและพัฒนา โดยจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ การทำงานของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นอาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 7 จำนวน 275 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check List) เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและสถานภาพของผู้บริหาร และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วัดระดับความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารใน 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่า (t – test) ผลการศึกษาพบว่า 1. ความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 7 โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ 2. ผลจากการเปรียบเทียบความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค จำแนกตามเพศของผู้บริหาร พบว่าโดยส่วนรวมอาจารย์มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันในทุกด้าน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร พบว่า โดยส่วนรวมอาจารย์มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านส่งเสริมการศึกษา ด้านกิจการนักศึกษา และด้านการวางแผนและพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านวิชาการไม่แตกต่างกันและเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงานของผู้บริหาร พบว่า โดยส่วนรวมอาจารย์มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านส่งเสริมการศึกษา และด้านการวางแผนและพัฒนา อาจารย์มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านวิชาการและด้านกิจการนักศึกษา อาจารย์มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Report %D 2543 %T การวิเคราะห์ระบบการบริหารงานวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง %A สุจิตรา, เปลี่ยนดวง %K การบริหาร %K การบริหารงานวิชาการ %K งานวิชาการ %K ระบบการบริหารงานวิชาการ %I สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %8 2543 %G eng %9 วิจัย %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2543 %T การศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก %A สุพาพร, กิตินันทน์ %K การบริหาร %K การศึกษา %K ผู้บริหารโรงเรียน %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารและครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2542 โดยศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 6 ด้าน คือ ด้านการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้านการสนับสนุนการกระจายอำนาจและประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อพัฒนางานวิชาการ ด้านการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา ด้านการระดมทรัพยากรจากแหล่งชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษา และศึกษาบทบาทหน้าที่ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินการ และด้านการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2542 โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 300 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 100 และครู จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประเมินค่า สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบน (S.D) และค่า t –test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มีบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมทุกด้าน และเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อ บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในภาพรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครุโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 4. ผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนมัธยมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในภาพรวม สูงกว่าเกณฑ์ 5. บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลกไม่แตกต่าง 6. บทบาทหน้าที่ของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวม และเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2543 %T คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียน ตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก %A ประทุม, จันทร์นิเวศน์ %K การบริหาร %K การศึกษาชั้นประถม %K ผู้บริหารโรงเรียน %X การวิจัยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 204 คน ครูผู้สอน จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t – test และ F – test ผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียน ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านบทบาทหน้าที่ ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียน พบว่า ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านบทบาทและหน้าที่ ไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจากโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก กับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดกลาง มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียน ด้านความเป็นผู้นำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก กับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดกลาง และผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก กับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดใหญ่ มีทรรศนะต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการโรงเรียน ด้านความรู้ความสามารถ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบทบาทและหน้าที่ ไม่แตกต่างกัน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2543 %T ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในด้านการบริหารโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก %A มนัส, จุติพรประสิทธิ์ %K การบริหาร %K การศึกษา %K ผู้บริหารโรงเรียน %X การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในด้านการบริหารโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ใน 6 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านธุรการ การเงินและพัสดุ ด้านอาคารสถานที่และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่ชนะการประกวดโรงเรียนดีเด่น ระดับกลุ่ม ประจำปีการศึกษา 2541 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 154 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpssive random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Ration scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก คือ ด้านวิชาการ ด้านกิจการนักเรียน ด้าน บุคลาการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การบริหารโรงเรียน และขนาดของโรงเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในด้านการบริหารโรงเรียน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Thesis %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %D 2543 %T ปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ในทัศนะผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร %A กิตติ, เหล่ากสิการ %K การบริหาร %K การลูกเสือ %K ผู้บริหารโรงเรียน %K ลูกเสือ %X การวิจัยปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหสนโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในดรงเรียน ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม และเพื่อเปรียบเทียบทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนลูกเสือสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Multi Random Sampling ) เป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 190 คน ครูผู้สอน จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List ) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t –test ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ลูกเสือสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร ในด้านการวางแผนด้านการบริหารจัดการ ด้านการติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีทัศนะต่อปัญหาทุกด้านในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุดในแต่ละด้าน คือ การวางแผน ได้แก่ การวางแผนด้านงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารงานจัดการ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมลูกเสือต่อชุมชนและหน่วนงานอื่นๆด้านการติดตามผลประเมินผล ได้แก่ การทำวิจัยเพื่อพัฒนา กิจกรรมลูกเสือ ด้านบุคลากร ได้แก่ การ่วมดำเนินการกิจกรรมลูกเสือตามแผนที่กำหนด ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ได้แก่ วัสดุ สื่ออุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับสภาพบริหาร งานลูกเสือในโรงเรียน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือมีทัศนะต่อปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ด้านวางแผนได้แก่ แผนงานตามวัตถุประสงค์และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอน ความรู้ในหลักการลูกเสือ การวางแผนพัฒนากิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ความต่อเนื่องของแผนงานหรือโครงการ ด้านการบริหารจัดการได้แก่การมอบหมายงานในความรับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ การดำเนินการเรื่องทะเบียนและเอกสาร เวลาในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ความร่วมมือและการให้ขวัญและกำลังใจจากผู้ร่วมงาน การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมลูกเสือต่อชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ การจัดกิจกรรมตามที่กำหนดไวในหลักสูตร ด้านการติดตามผลประเมินผล ความสำคัญและประโยชน์ของการติดตามผลประเมินผลการจัด กิจกรรมลูกเสือ การนิเทศและการติดตามผลประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในแผนงานด้านบุคลากร การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างสัมพันธภาพในการจัดทำกิจกรรมลูกเสือ การร่วมดำเนินกิจกรรมลูกเสือตามแผนที่กำหนด ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมลูกเสือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูผู้สอนเห็นว่าเป็นปัญหามากกว่าผู้บริหารโรงเรียน %B มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา %G eng %0 Generic %D 2539 %T การบริหารการผลิต %A ทองมั่น, คุ้มใหญ่โต %K การบริหาร %K การบริหารการผลิต %K การผลิต %I สถานบันราชภัฏพิบูลสงคราม. คณะวิทยาการจัดการ. ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์ %C พิษณุโลก %U http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=/node/1029 %0 Book %D 2528 %T การบริหารการศึกษา %A หาญชัย, สงวนให้ %K การบริหาร %K การบริหารการศึกษา %K การศึกษา %I วิทยาลัยครูพิบูลสคราม.คณะวิชาครุศาสตร์. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา %C จังหวัดพิษณุโลก %P 230 %G eng %U http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/1008 %L 371.2 ห232ก