%0 Thesis %D 2557 %T การประเมินความเสี่ยงของสารอะฟลาทอกซิล เอ็ม 1 จากการบริโภคนม ตามโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก %A ทัตนา, พุทธรักษ์ %K Aflatoxin %K การบริโภคนม %K การประเมินความเสี่ยง %K จังหวัดพิษณุโลก %K นม %K สารอะฟลาทอกซิล เอ็ม 1 %K โครงการอาหารเสริมนมในโรงเรียน %X โคนมที่ได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน บี 1 ซึ่งเป็นสารพิษจากเชื้อราเมื่อเข้าสู่ร่างกายของโคจะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 ปนเปื้อนไปในน้ำนมหากมีการบริโภคน้ำนมที่มีการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 ในผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ตามโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนที่แจกให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และทำการประเมินความเสี่ยงของการได้รับสารอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 จากการบริโภคนมโรงเรียนดังกล่าว โดยทำการสุ่มตัวอย่างนมพาสเจอร์ไรส์ (นมโรงเรียน) ที่แจกให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 2 และ 3 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากโรงเรียนต่างๆ ให้ครอบคลุมนมจากทุกๆ โรงงานที่ผลิตส่งให้กับโรงเรียน และเก็บตัวอย่างกระจายกันไปตลอดระยะเวลา 1 ปี ครอบคลุม 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 โดยใช้วิธี Enzyme-linkedimmunosorbent assay (ELISA) โดยใช้ชุดตรวจสอบสำเร็จรูป ผลพบว่า ปริมาณสารอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 ที่ปนเปื้อนในนมพาสเจอร์ไรส์ที่แจกให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก มีค่าอยู่ในช่วง 53–71 ng/kg โดยพบว่า นมในช่วงฤดูหนาว มีการปนเปื้อนสูงกว่าฤดูร้อนและฤดูฝนปริมาณการปนเปื้อนที่ตรวจพบมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยประชาคมยุโรป ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 50 ng/kg อย่างไรก็ตามยังมีค่าน้อยกว่ามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 500 ng/kg ปัจจุบันประเทศไทยใช้มาตรฐานเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)งานวิจัยนี้ได้ใช้หลักการตามแนวทางของ Codex Alimentarius ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การระบุอันตราย (Hazard identification) การแสดงลักษณะเฉพาะของอันตราย (Hazardcharacterization) การประเมินการได้รับสัมผัส (Exposure assessment) และการแสดงลักษณะเฉพาะของความเสี่ยง (Risk characterization) ผลพบว่า International Agency for Research on Cancer (IARC) จัดให้อะฟลาทอกซิน เอ็ม1 เป็นสารพิษในกลุ่ม 2B นั่นคืออาจก่อมะเร็งได้ในมนุษย์มีความเป็นพิษต่อตับ แม้ว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าอะฟลาทอกซิน บี 1ที่ปนเปื้อนในธัญพืชต่างๆ ประมาณ 10 เท่า บนพื้นฐานของการบริโภคนมโรงเรียนที่ 200 มิลลิลิตรต่อวันต่อคน เมื่อประมาณการได้รับสัมผัสโดยวิธี Probabilistic estimation พบว่า ปริมาณการได้รับสัมผัสเฉลี่ยทุกฤดูกาลที่ 5th และ 95th percentile อยู่ที่ 10.24 และ12.80 ng/person per dayและเมื่อใช้น้ำหนักตัว 15 กิโลกรัม จะคำนวณปริมาณการได้รับสัมผัสที่ 5thและ 95th percentile คือ 0.68 และ 0.85ng/kg BW หากใช้น้ำหนักตัว 25 กิโลกรัม จะคำนวณปริมาณการได้รับสัมผัสที่ 5thและ 95th percentile คือ 0.41 และ 0.51ng/kg BWตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับค่า Tolerable daily intake (TDI) ของอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ที่มีค่า 0.2 ng/kg BW จะพบว่ามีค่าสูงกว่า TDI ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า มีโอกาสที่จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพของเด็กนักเรียนที่บริโภคนมโรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก หากมีระดับการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ตามผลที่พบจากงานวิจัยนี้แม้ว่าปริมาณที่ตรวจพบจะต่ำกว่าค่ามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา การพบว่ามีความเสี่ยงเป็นผลจากค่า TDI ของอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ซึ่งกำหนดไว้ต่ำมาก เพียง 0.2 ng/kg BW และในงานวิจัยนี้เป็นการประมาณกับกลุ่มเด็กนักเรียนซึ่งใช้น้ำหนักตัว 15 และ 25 กิโลกรัม สำหรับเด็กเล็ก และเด็กโต ซึ่งก็จะทำให้มีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต %8 2557-09-22 %G eng %9 วิทยานิพนธ์/Thesis %0 Report %D 2546 %T การพัฒนากระบวนการผลิตนมที่ถูกสุขลักษณะตามหลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของโรงงานแปรรูปนมพาสเจอร์ไรซ์ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก %A ชุติมา, ไชยเชาวน์ %E กนกกานต์, วีระกุล %K การผลิตนม %K การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤต %K นม %K โรงงานแปรรูปนมพาสเจอร์ไรซ์ %I สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %8 2546 %G eng %9 วิจัย