%0 Thesis %D 2550 %T การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดพิษณุโลก %A ยุพา, กลิ่นหอม %K กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต %K การบริหารงาน %K จังหวัดพิษณุโลก %K พัฒนารูปแบบการบริหารงาน %K รูปแบบการบริหารงาน %X การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบ ปัญหา และผลการบริหารงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดพิษณุโลก ที่มีระดับพัฒนา 1, 2 , และระดับ 3 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานของกลุ่มออกทรัพย์เพื่อการผลิต มีโครงสร้างการบริหารงานในรูปคณะกรรมการ ที่ได้รับคัดเลือกมาจากสมาชิกของกลุ่ม โดยมีกิจกรรมการฝากเงินสัจจะสะสม และการกู้ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาการชำระหนี้ของผู้กู้ ขาดความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกรรมการบางคนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับ 2. รูปแบบการบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่นำเสนอ มีดังนี้ 2.1 โครงสร้างการบริหารงาน บริหารงานในรูปคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการส่งเสริม คณะกรรมการฝ่ายกู้เงิน และคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบ มีตำแหน่งหลักคือ ประธาน รองประธาน เลขานุการ และเหรัญญิก โดยตำแหน่งมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน สมาชิกปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม เงินทุน มาจากเงินสัจจะสะสม และหน่วยสนับสนุน 2.2 กระบวนการบริหารกลุ่ม ดำเนินการบริหารเงินทุน กิจกรรม และสมาชิกโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม 2.3 กระบวนการบริหารการออมทรัพย์ พัฒนาการส่งเสริมการออกมเงินของกลุ่มด้วยการลดค่าใช้จ่าย และการประกอบอาชีพเสริม การกู้เงินของสมาชิกต้องนำไปจ่ายให้เกิดผลตอบแทนอย่างเหมาะสม และมีการตรวจสอบ สนับสนุนโดยคณะกรรมการ 2.4 กระบวนการบริหารหนี้สิน กรรมการต้องดำเนินการติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอน 2.5 คณะกรรมการกลุ่มออกทรัพย์เพื่อการผลิต ดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการ สอนแนะงานและการศึกษาดูงาน 2.6 สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการประชุมชี้แจ้งให้ความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานของกลุ่มออกทรัพย์เพื่อการผลิต โดยดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง คือวันที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกำหนดให้สมาชิกนำเงินสัจจะมากกับกลุ่ม %I Pibulsongkram Rajabhat University %C พิษณุโลก %V ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต %G eng