%0 Thesis %D 2547 %T ความรู้ความสามารถพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก %A โสภิดา, บุญมี %K โรงเรียนมัธยมศึกษา %X การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความสามรถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตากจำแนกตามสังกัดสถานศึกษาและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก จำนวน 478 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย (Sampl Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ ค่าที t-test ค่าเอฟ F-test และแบบทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการมีจิตใจเป็นวิทยาศาสตร์ มีความสามารถอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนด้านการเข้าใจสิ่งแวดล้อมด้านการใช้กระบวนการคิดหาเหตุผลเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งแวดล้อม และด้านการนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ ความสามารถอยู่ในระดับ ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการมีจิตใจเป็นวิทยาศาสตร์ มีความสามารถอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านการเข้าใจสิ่งแวดล้อมความสามรถอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ส่วนด้านการนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ และด้านการใช้กระบวนการคิดหาเหตุผลเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งแวดล้อม ระดับความสามารถอยู่ในระดับ ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการมีจิตใจเป็นวิทยาศาสตร์และด้านความเข้าใจสิ่งแวดล้อม มีความสามารถอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนด้านการใช้กระบวนการคิดหาเหตุผลเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งแวดล้อม และด้านการนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ มีความสามรถอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ขนาดต่างกัน มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 5. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา มีขนาดต่างกันมีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 %I มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม %C พิษณุโลก %V ครุศาสตรมหาบัณฑิต %G eng