แนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Primary tabs

Titleแนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Publication TypeThesis
Year of Publication2551
Authorsภูษิต, ล้ำสมภพ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
UniversityPibulsongkram Rajabhat University
Cityพิษณุโลก
Keywordsคุณธรรม จริยธรรม, ค่านิยมที่พึงประสงค์, นักเรียน, สพฐ.พิษณุโลก เขต 3, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3, แนวทางพัฒนา, แนวทางพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาทางจริยธรรมของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 และนำเสนอแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครูในอำเภอพรหมพิราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 จำนวน 53 แห่ง ๆ ละ 2คน คือครูที่ปรึกษา 1 คน และครูแนะแนวหรือครูฝ่ายปกครอง 1 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานากลาง ดังนี้ การมีวินัย มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นฯ ได้แก่ แต่งกายเรียบร้อยและถูกระเบียบและมีมารยาทในการรับประทานอาหาร ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ ปฏิบัติตามระเบียบการสอบและไม่ลอกการบ้านไม่ลักขโมยทรัพย์สิน ไม่พูดโกหกและกล้ายอมรับความจริง ความกตัญญูตกเวที ได้แก่ แสดงออกถึงความรักและเคารพพ่อแม่ เคารพและเชื่อฟังครูอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่และครุอาจารย์ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมชุมชนและครอบครัว ความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ได้แก่ รู้จักให้เพื่อส่วนรวมและผู้อื่น และแบ่งปันทรัพย์สินและสิ่งของให้แก่ผู้อื่น แสดงออกถึงการมีน้ำใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่นและเสียสละต่อผู้ด้อยโอกาส และไม่เอาเปรียบผู้อื่น ความประหยัด ได้แก่ รู้จักใช้ทรัพย์สินของของโรงเรียนอย่างประหยัดใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัด เข้าร่วมกิจกรรมประหยัดของโรงเรียน รู้จักใช้น้ำ ไฟฟ้า และสาธารณูปโภคที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างประหยัด และรู้จักการออมเงิน และใช้เงินอย่างประหยัด ภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย ได้แก่ แสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ชอบเรียนรู้และสนใจในภูมิปัญญาไทยของท้องถิ่นของตน เรียนรู้และสนใจในศิลปวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นของตนสามารถเผยแพร่ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ และแสดงออกถึงความรักและความหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย

Citation Key101
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon bib.PDF218.38 KB
PDF icon tpg.PDF0 bytes
PDF icon abs.PDF132.04 KB
PDF icon con1.pdf0 bytes
PDF icon ch1 (2).pdf173.13 KB
PDF icon ch2.PDF0 bytes
PDF icon ch3.PDF194.53 KB
PDF icon ch4.pdf706.51 KB
PDF icon ch5.pdf445.25 KB
PDF icon app.PDF80.79 KB