พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน

Primary tabs

Titleพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsรักเลี้ยง, ประภาพรรณ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการบริหารการศึกษา, ผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา, พรบ.แห่งชาติ พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542, โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
Abstract

การศึกษาครั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใน 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารจัดการด้านการบริหารกิจการนักเรียน และแนวทางการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในอนาคต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้คือ ผู้บริหาร โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ สาระในการสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนอาชีวเอกชนเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และทำการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนานัยสำคัญตามความคิดเห็นของผู้บริหารของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีความคิดเห็นจากพรราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน มีสาระดังนี้ 1. ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาและสอดแทรกหลักสูตรท้องถิ่น ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการ มีการประเมินคุณภาพภายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานมากกว่าเน้นวิชาการ 2. ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่าโรงเรียนต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น สูงมากแต่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีและบางครั้งประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากนโยบายการรับนักเรียนของรัฐบาล ไม่แน่นอน งบบริจาคเป็นทุนการศึกษาจากชุมชนค่อนข้างน้อยและการจัดสรรกำไร ที่รัฐบาลกำหนด 60 : 40 ไม่เป็นธรรม 3. ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่าบุคลากรที่ทำหน้าที่สอนมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสอน บุคคลกรต้องได้รับการพัฒนาโดยส่งเสริมให้ศึกษาต่อ และให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม 4. ด้านการบริหารจัดการ พบว่าโรงเรียนต้องบริหารงานในสภาพนิติบุคคล มีแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน ผู้บริหารต้องบริหารแบบมืออาชีพ เน้นการบริหารโดยยึดหลักประหยัดและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 5. ด้านการบริหารกิจการนักเรียน พบว่าการรับนักเรียนที่เหลือจากโรงเรียนรัฐบาล การบริการนักเรียน ได้จัดทุนการศึกษาให้ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและการบริการแนะแนว ให้นักเรียนได้รับรู้ เมื่อสำเร็จการศึกษาให้สามารถประกอบอาชีพได้ แนวทางการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต้องเป็นนิติบุคคล มีการบริหารงานแบบมีคณะกรรมการมีการตัดสินใจร่วมกัน และการประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา เพื่อทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน มีระบบมีมาตรฐานการยอมรับจากสังคม ให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ส่งผลดีให้กับโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ทำให้บุคคลสนใจมาเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนมากขึ้น

Citation Key148
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf13.07 KB
PDF icon bib.pdf146.87 KB
PDF icon ch5.pdf75.28 KB
PDF icon ch4.pdf334.26 KB
PDF icon ch3.pdf105.38 KB
PDF icon ch2.pdf1.23 MB
PDF icon ch1.pdf82.39 KB
PDF icon con1.pdf0 bytes
PDF icon abs.pdf112.9 KB
PDF icon app.pdf17.5 KB