การศึกษาการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31

Primary tabs

Titleการศึกษาการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31
Publication TypeThesis
Year of Publication2550
Authorsธนชัย, มะธิปิไขย
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31, การดำเนินงาน, ตชด. 31, ทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 31 ด้านการปลูกหญ้าแฝกและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 ด้านการปลูกหญ้าแฝกและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยทำการศึกษาจากกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 48 คน นักเรียน จำนวน 55 คน คระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 63 คน รวมทั้งสิ้น 173 คน จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 7 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) 5 ระดับเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ด้านการปลูกหญ้าแฝกและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พบว่า ในภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และในแต่ละขั้นตอนและแต่ละกิจกรรมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านการปลูกหญ้าแฝกจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นตอนการดูแลรักษาและติดตามประเมินผล ขั้นการขยายพันธุ์หญ้าแฝกขั้นเตรียมการ และขั้นการขยายผล ตามลำดับ ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม กิจกรรมการปลูกรักษาพันธุกรรมพืช และกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช ตามลำดับ 2. ด้านปัญหาการปลุกหญ้าแฝก พบว่า หญ้าแฝกมีรากเน่าและตาย การประชาสัมพันธ์ด้านการขยายพันธุ์หญ้าแฝกขาดความต่อเนื่อง ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ การขยายพันธุ์ไปปลุกในพื้นที่ชุมชนค่อนข้างน้อย ประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการปลูกหญ้าแฝก งบประมาณมีไม่เพียงพอวิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหา คือ อบรมบุคลากรในโรงเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายพันธุ์หญ้าแฝกต่อเนื่องทุกปี จัดการประชุมให้มีความรู้ความเข้าใจกับผู้นำชุมชนและประชาชน มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกสิ้นปี หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับปัญหาด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พบว่า บุคลากรขาดการฝึกอบรม ประชาชนขาดความรู้ งบประมาณมีน้อย วิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาคือ จัดอบรมบุคลากร เผยแพร่ความรู้ให้นักเรียนรู้จักเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ จัดสถานที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม ควรมีการประชาสัมพันธ์และปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอย่างต่อเนื่อง

Citation Key119
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.PDF86.38 KB
PDF icon con1.PDF134.03 KB
PDF icon ch5.PDF556.68 KB
PDF icon ch4.PDF617.22 KB
PDF icon ch3.PDF34.3 KB
PDF icon ch2.PDF0 bytes
PDF icon ch1.PDF32.6 KB
PDF icon bib.PDF38.91 KB
PDF icon app.PDF0 bytes
PDF icon abs.PDF145.05 KB