ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก

Primary tabs

Titleความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsรัตนขจิตวงศ์, พิมลพรรณ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการพัฒนางานวิชาการ, ครูผู้สอนโรงเรียน, งานวิชาการ, พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, เทศบาลนครพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับประชากรครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.8519 ที่เรียกว่า มาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) เรื่อง ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน รองลงมา คือ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังของหลักสูตร และด้านการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนตามลำดับ ส่วนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนามากที่สุดในเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมา ได้แก่ การใช้เทคนิคและการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เหตุผลและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการจัดกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมตามลำดับ สำหรับด้านการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียน ร องลงมา ได้แก่ การพัฒนาวิธีหรือนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการทำวิจัยในชั้นเรียนและการใช้สถิติพื้นฐานที่เหมาะสมในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามลำดับ สำหรับด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การผลิตและพัฒนาสื่อที่สนองความแตกต่างและความสนใจของผู้เรียน รองลงมา ได้แก่ การนำนวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยีและสารสนเทศต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ และการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ในการจาดทำพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามลำดับ นอกจากนี้การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การประเมินจากการปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และการเทียบโอนทางการศึกษาตามลำดับ

URLhttp://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/150
Citation Key150
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf7.84 MB
PDF icon bib.pdf789.75 KB
PDF icon ch5.pdf631.34 KB
PDF icon ch4.pdf74.17 KB
PDF icon ch3.pdf235.75 KB
PDF icon ch2.pdf5.59 MB
PDF icon ch1.pdf359 KB
PDF icon con1.pdf160.2 KB
PDF icon abs.pdf172.23 KB
PDF icon app.pdf486.86 KB