การศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ

Primary tabs

Titleการศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ
Publication TypeThesis
Year of Publication2546
Authorsปาริชาติ, อินทรพุก
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cityพิษณุโลก
Keywordsพัสดุ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏในด้านการซื้อการจ้าง การเก็บรักษาพัสดุ การเบิก-จ่ายพัสดุ การตรวจสอบพัสดุประจำปี การจำแนกตามสถานภาพ อายุราชการ ประสบการณ์ในการดำเนินงานพัสดุ และขนาดสถาบันราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี หัวหน้างานพัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบมาตรส่วนประมาณค่า และมีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏโดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 1. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏที่มีสถานภาพต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่มีอายุราชการต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัญหาด้านการซื้อจ้างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานพัสดุพัสดุต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่อยู่ในสถาบันราชภัฏขนาดต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของสถาบันราชภัฏ พบว่าด้านการซื้อจ้าง สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยจัดทำคู่มือ แบบฟอร์มการจัดซื้อ การจัดจ้างและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดประชุม อบรม สัมมนาให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบและแนวปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันนอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ให้เป็นกลางเพื่อความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ด้านการเก็บรักษาพัสดุที่เป็นระเบียบปลอดภัยและจัดเก็บพัสดุจำแนกประเภทให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและการเก็บรักษา รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินที่เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและการเก็บรักษา รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินที่เป็นปัจจุบัน ด้านการเบิก - จ่ายพัสดุสถาบันราชภัฏแต่ละ แห่งใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับเบิก – จ่าย และวันเวลาในการเบิกจ่ายพัสดุให้ชัดเจน มีระบบควบคุมการเบิก – จ่าย มีหลักฐานการเบิกจ่าย พัสดุและมีการตรวจนับพัสดุคงเหลือ ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปี สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีให้มีการตรวจสอบพัสดุอย่างจริงจัง ส่วนด้านการจำหน่ายพัสดุ สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยกำหนดรูปแบบและวางมาตรการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงเข้าสู่ระบบการบริหารพัสดุ หรือวงจรการบริหารพัสดุเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

Citation Key219
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf68.11 KB
PDF icon bib.pdf52.68 KB
PDF icon ch5.pdf229.18 KB
PDF icon ch4.pdf1.48 MB
PDF icon ch3.pdf258.24 KB
PDF icon ch2.pdf1.6 MB
PDF icon ch1.pdf376.94 KB
PDF icon con1.pdf424.59 KB
PDF icon abs.pdf236.9 KB
PDF icon app.pdf143.34 KB