การประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Primary tabs

Titleการประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsนพวรรณ, พงษ์เจริญ
Degreeปริญญาโท
Date Published 2547-06-04
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsการประเมินโครงการ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการ “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์” ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 16 คน ครูจำนวน 24 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 125 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 125 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพแวดล้อมหรือบริบทชุมชน ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละโรงเยนได้เลือกกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน 2. ปัจจัยเบื้องต้น เมื่อพิจารณาจากด้านวัสดุ และทรัพยากร ความร่วมมือของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนมีความพร้อมในระดับมากด้านงบประมาณมีความพร้อมในระดับน้อย 3. กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกิจกรรม มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและติดตามผล และจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการประกอบกิจกรรมให้กับนักเรียน ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน การติดตามผล การนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการ และการชี้แจงผลการดำเนินงานมีผลการประเมินในระดับปานกลาง 4. ผลการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความพึงพอใจในผลของการจัดกิจกรรมในระดับปานกลาง ส่วนการทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะไปสู่พื้นฐานงานอาชีพมีความสนใจกิจกรรมของโครงการ เห็นความสำคัญของท้องถิ่นและใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้ ความเขาใจว่าผลการดำเนินกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและพัฒนาพื้นฐานงานอาชีพ มีความภาคภูมิใจในผลงานและเห็นคุณค่าในระดับมาก ยกเว้นดานการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาเรียนการแสดงผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนการสร้างผลงาน การจัดหาวัสดุ การเผยแพร่และการประเมินผล ด้านการจัดจำหน่ายและการหารายได้ระหว่างเรียน อยู่ในระดับปานกลาง

Citation Key305