การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร

Primary tabs

Titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร
Publication TypeThesis
Year of Publication2555
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Date Published2557-04-01
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsขั้นบูรณาการ, ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาศาสตร์, ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ม.3, สพป.กำแพงเพชร, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ตาโนนิคระหว่างตัวแปรกลุ่มจิตวิทยาศาสตร์กับตัวแปรกลุ่มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและการศึกษาน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลระหว่าจิตวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้นี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1,085 คน ซึ่งเลือกมาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่า 0.22 ถึง 0.78 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.76 ถึง 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายและสถิติสหสัมพันธ์คาโนนิคอลโดยใช้โปรแกรม SPSS for window ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่าง ฟังก์ชันตัวแปรอิสระ ด้านจิตวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมีใจกว้าง ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นอดทนและเพียรพยายาม ความมีเหตุผล ความมีระเบียบวินัยและรอบคอบ ความซื่อสัตย์ ความประหยัด และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นกับฟังก์ชั่นตัวแปรตาม ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ได้แก่ ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร ทักษะการทดลองทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปมีค่าเท่ากับ .366, .148, .132, .106, .031 ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างนัยสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับ .05 ในฟังก์ชั่นที่ 1 และ 2 ส่วนฟังก์ชั่นที่ 3, 4 และ5 มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลระหว่างจิตวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ที่อยู่ในระดับที่ส่งผลซึ่งกันและกัน (มากกว่า .030) มี 2 ฟังก์ชั่น ฟังก์ชั่นแรกตัวแปรอิสระทุกด้านได้แก่ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความสนใจใฝ่รู้ ความมีเหตุผล ความมีใจกว้างความรับผิดชอบ มุ่งมั่นอดทนและเพียรพยายาม และความมีระเบียบและรอบคอบส่งผลต่อกลุ่มตัวแปรทุกทักษะ ได้แก่ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะการทดลอง และทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ในฟังก์ชั่นที่สองตัวแปรอิสระที่ส่งผลมากตามลำดับ คือความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัยและความรอบคอบ ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นอดทนและเพียรพยายาม กลุ่มตัวแปรตามที่ส่งผลตามมาก คือ ทักษะการทดลอง

Citation Key50