การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ชื่อการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Publication TypeThesis
Year of Publication2553
Authorsอังคณา, พิมพอน
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Date Published2557-03-31
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityจังหวัดพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
คำค้นหาการวิเคราะห์ถดถอย, การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา, โลจิสติก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำรวจการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 67 ข้อ จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะนักศึกษา ด้านเจตคติต่อการทำวิทยานิพนธ์ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และด้านกระบวนการพัฒนาวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 5 ระดับ คือ ด้านคุณลักษณะนักศึกษา ด้านเจตคติต่อการทำวิทยานิพนธ์ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และด้านกระบวนการพัฒนาวิทยานิพนธ์โยภาพรวมและแยกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา และสร้างสมการพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพบว่า ตัวแปรทนายการสำเร็จการศึกษาคือด้านกระบวนการพัฒนาวิทยานิพนธ์ (X5) ด้านคุณลักษณะนักศึกษา (X1) ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถนำมาสร้างสมการทำนายระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สามารถเขียนสมการถดถอยโลจิสติกได้ดังนี้ W= 1.507 + 0.747 X1 +1.317 X5 สมการสามารถทำนายการสำเร็จการศึกษาภายใน 3 ปี และเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ได้ถูกต้องร้อยละ 60.20

URLhttp://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/57
Citation Key57
ไฟล์แนบ: