การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ.2545-2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

Primary tabs

Title การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ.2545-2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsเทียมสังวาลย์, จิตราวรรณ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsยาวชน
Abstract

การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน ที่อยู่ระหว่างคุมความประพฤติในปี พ.ศ. 2545 – 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุการกระทำผิดของเยาชน 2)เพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามรูปแบบที่กำหนด จำแนกตามโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมใจประสานใจกิจกรรมใบหน้าปริศนา กิจกรรมครอบครัวในดวงใจ กิจกรรมใจเขาใจเรา กิจกรรมคุณค่าแห่งใจ กิจกรรมซองความดี และกิจกรรมความคาดหวังในอนาคต และวัดความคิดเห็นของเยาวชนใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เยาวชนที่อยู่ระหว่าคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545-2645 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน 15 คน มาเป็นกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การทำกิจกรรมกลุ่มของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วัดระดับความคิดเห็นของเยาวชนหลังการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรม ต่อกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม และวัดความรู้ก่อนเรียน หลังเรียน ใน 3 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545 – 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลก แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรมดังนี้ ดังนี้ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ กิจกรรมตราประจำตัว และความคิดเห็นต่ำสุดคือ กิจกรรมคุณค่าแห่งใจ 2. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ. 2545 –2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กลุ่ม ด้านความรู้ก่อนการเรียน ระดับมาก 3 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ และระดับน้อย 2 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุด คือ เยาชนรู้จักการสังเกตการณ์จำเพื่อน และความคิดเห็นต่ำสุด คือ เยาวชนรู้จักวางแผนอนาคต ด้านความรู้หลังเรียน ระดับมากที่สุด 4 ข้อ ระดับมาก 6 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ เยาวชนรู้จักการอยู่ร่วมกับสมาชิก และความคิดเห็นต่ำสุดคือ เยาวชนรู้จักการมองคนในแง่ดี 3. เยาวชนที่อญู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ศ.2545 – 2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความคิดเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ด้านทักษะก่อนการเรียน ระดับปานกลาง 6 ข้อ และระดับน้อย 4 ข้อ โดยมีความคิดเห็นคือ เยาวชนนำเอาข้อดีของตนมาใช้ในสังคมได้ และความคิดเห็น ต่ำสุดคือ เยาวชนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านทักษะหลังการเรียน ระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 8 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุดคือ เยาวชนสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนำได้ดีเพราะได้รู้จักคนมากขึ้น และความคิดเห็นต่ำสุด คือ เยาวชนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. เยาวชนที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติในปี พ.ส .2545 –2546 ของศาลจังหวัดพิษณุโลกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีความเห็น โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ด้านการนำไปใช้ก่อนการเรียน ระดับปานกลาง 9 ข้อ และระดับน้อย 1 ข้อ โดยมีความคิดเห็นสูงสุด คือ เยาวชนเป็นคนช่างสังเกต และความคิดเห็นต่ำสุดคือเยาวชนรู้จักการมีความหวังให้เป็นจริงได้ ด้านการนำไปใช้หลังการเรียน ระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 8 ข้อ โดยความเห็นสูงสุด คือ เยาวชนสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆได้ทุกสถานการณ์ และความคิดเห็นต่ำสุดคือ เยาวชนสามารถจำแนกข้อดีข้อเสียของสมาชิกในสังคมได้

Citation Key202
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf70.3 KB
PDF icon bib.pdf166.35 KB
PDF icon ch5.pdf853.27 KB
PDF icon ch4.pdf533.47 KB
PDF icon ch3.pdf181.29 KB
PDF icon ch2.pdf968.89 KB
PDF icon ch1.pdf190.64 KB
PDF icon con1.pdf94.57 KB
PDF icon abs.pdf176.75 KB
PDF icon app.pdf504.55 KB