ความตะหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ จากอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleความตะหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ จากอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2557
Authorsเจษฎากรณ์, ทองน้อย
Degreeวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
Date Published2557-09-25
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsความตะหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ, จังหวัดพิษณุโลก, นักเรียนชั้นประถมศึกษา, ประถมศึกษา, ฝุ่นละออง, สุขภาพ, อนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพจากอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศก่อน และหลังการอ่านหนังสือประกอบการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตเมือง ซึ่งได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จำนวน 64 คน และโรงเรียนนอกเขตเมือง คือโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ เทศบาลตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 70 คน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำหนังสืออ่านประกอบการเรียนเรื่อง “ฝุ่นละออง...ภัยร้ายใกล้ตัวเรา” ซึ่งมีเนื้อหา 3 ส่วน คือ มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองในอากาศ และความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ (IOC=0.9) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนและหลังการอ่านสื่อ 1 วัน และ 7 วัน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน มีคะแนนความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองในอากาศ และความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ เพิ่มสูงขึ้นหลังจากอ่านหนังสือ 1 วัน ร้อยละ 11.6 , 8.8 และ 1.4 ตามลำดับ แลหลังการอ่าน 7 วัน มีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 17.4, 9.4 และ 12.5 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้อ่านหนังสือ ส่วนโรงเรียนนอกเขตเมือง โรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ กลุ่มทดลองจำนวน 35 คน มีคะแนนความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองในอากาศ และมีความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพ เพิ่มร้อยละ 35.1, 15.7 และ 15.0 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนเขตเมืองและนอกเขตเมืองจากแบบทดสอบและแบบสอบถามพบว่านักเรียนในเขตนอกเมืองมีความตระหนักต่อผลกระทบทางสุขภาพมากกว่านักเรียนในเขตเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

Citation Key24
ไฟล์แนบ: