การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2556
Authorsแท่งทอง, อุทิศ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Date Published2557-09-22
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsการใช้ชีวิต, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, จังหวัดพิษณุโลก, นักศึกษา, มรพส., มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง
Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำแนกตามเพศ สาขาวิชาและชั้นปี ในภาคการศึกษาปกติ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 4 ชั้นปี รวม 920 คน จำแนกตามเพศชาย จำนวน 744 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 433 คน คิดเป็นร้อยละ 78.6 เพศหญิง จำนวน 176 คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 21.4 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น นักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม จำนวนประชากร 187 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 24.0 รองลงมาอยู่ในสาขาวิชาเซรามิกส์ จำนวน 117 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 10.5 และที่น้อยที่สุดอยู่ในสาขาวิชาเอกก่อสร้าง จำนวน 26 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 เมื่อจำแนกตามชั้นปีพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีจำนวนประชากร 148 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ชั้นปีที่ 2 มีจำนวนประชากร 86 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 11.3 ชั้นปีที่ 3 มีจำนวนประชากร 340 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 34.1 และชั้นปีที่ 4 มีจำนวนประชากร 346 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 39.7 ผลการวิจัยพบว่า จากการเปรียบเทียบด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีระหว่างเพศชายและเพศหญิงพบว่า เพศชายมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเพศหญิง แสดงว่านักศึกษาเพศชายกับเพศหญิงมีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พบว่าไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาที่มีสาขาวิชาต่างกัน มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่าสาขาวิชาเซรามิกส์และสาขาวิชาเครื่องกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาสาขาวิชาเซรามิกส์ มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมสาขาวิชาก่อสร้างและสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมมีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่าสาขาวิชาเครื่องกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสาขาวิชาอื่น ๆ นั้นพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบจำแนกตามชั้นปีพบว่านักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Citation Key25
ไฟล์แนบ: