การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 : โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Primary tabs

Titleการศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 : โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsนันทวัน, จันทร์กลิ่น
Degreeครุศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อการศึกษาปัญหาการบริการจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 :โรงเรียนบ้านเนินมะปราง 2) เพื่อศุกษาแนวทางการบริการจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประชากรในการศ฿กษาค้นคว้าในครั้งนี้ ศึกษาบุคลากรโรงเรียนบ้านเนินมะปราง จำนวน 50 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวน ตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม และผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริการจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 :โรงเรียนเนินมะปราง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของปัญหาสูงสุดได้แก่ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีมีปัญหาสูงสุด รองลงมาได้แก่ปัญหาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัฒกรรม และปัญหาด้านทักษะชีวิตและการทำงานโดยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
21. ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพ ผู้บริหารและคณะครูควรร่วมปนะชุมเพื่อที่จะศึกษา ข้อบกพร่องวิธีการดำเนินงานเพื่อลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะแก้ไขก่อนหลัง และทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ด้วยการจัดอันดับความสำคัญของปัญหากำหนดวิธีการที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหา นำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์มีการประเมิณผลของการจัดกิจกรรมว่ามีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้หรื่อไม่ ร่วมกันจัดทำมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นไปอีกและสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินงาานใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป 2.2 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัฒกรรม แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพ ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันคัดเลือกและกำหนดปัญหาที่จะดำเนินการนำมาลำดับปัญหาที่จะทำก่อนหลังได้ ร่วมกันทำความเข้าใจปัญหา และปรับปรุงไปในทางเดียวกัน ร่วมกันในการวางแผนการดำเนินงาน ความสำคัญของปัญหาที่จะแก้ไขก่อนหลัง และนำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์มีการประเมินผลของการจัดกิจกรรมว่ามีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ร่วมกันจักทำมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติคือให้ดียิ่งขึ้นไปอีกและสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป 2.3 ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพผู้บริหารควรส่งเสริมการสร้างบรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ส่งเสริมความไว้ว่างใจกันในการทำงานมีการมอบหมายงานงานอย่างชัดเจน สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตนและเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม และส่งเสริมวิธีการทำงานของบุคลากรภายในสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอก ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงาน ของทีมและผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง

Citation Key288