ชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชผักพื้นบ้านในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

Primary tabs

Titleชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชผักพื้นบ้านในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsญาณนันท์, งามศิริ
Degreeวิทยาศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การศึกษาชนิดและการใช้ประโชน์จากพืชผักพื้นบ้ารใน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยสำรวจชนิดพืชผักพื้นบ้าน ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พใศม2556 ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างแห้ง และสัมภาษณ์การใช้ประโยชน์ของพืชจากผู้ใช้ประโยชน์พืชผักพื้นบ้าน จำนวน 390 คน (กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ95) จากแหล่งที่ชาวบ้านนำพืชผักมาจำหน่ายในตลาดชุมชนของอำเภอ ได้แก่ ตลาดชุมชนวัดวาลุการาม ตำบลโดนด ตลาดชุมชนวัดสามพวง ตำบลสามพวง ตลาดชุมชนวัดดุสิตดาราม ตำบลทุ่งหลวงและตลาดชุมชนวัดนาเชิงคึรึ ตำบลนาเชิงคีรี พบว่า ผักพื้นบ้านมีจำนวน 114 ตัวอย่าง จำแนกได้ 52 วงศ์ 86 สกุล 106 ชนิด และพบว่าส่วนใบ/ยอด เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด รองลงมาคือ ผลหรือเมล็ด ดอก ลำต้นและรากตามลำดับ การรับประทานส่วนใหญ่นำมาปรุงสุก ด้วยการต้ม ผัด นึ่ง ทอด เช่น แคบ้าน (Sesbania grandiflora Desv.) ผักบุ้ง (lpomoea aquatica Forsk.) ผักหวาน (Leptonychia heteroclita Kurz) ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus Merr.) กระเพราต้น (Cinnamomum glaucescens Drury) ตำลึง (Coccinia grandis Voigt) ฟักทอง (Cucurbita moschata Decne.) ถั่วฝักยาว (Vigna sinensis Savi ex Hassk.) มะกรูต (Citrus hystnx DC.) โสนกินดอก (Sesbania javanica Miq.) และพฤกษ์(Atbizia lebbeck Benth.) เป็นต้น ด้วยการต้ม ลวก ย่าง เช่นเพกา(Oroxylum indicum (L.)Kurz.) รองลงมาคือการรับประทานสด เช่น ผักสาบ(Adenia vindiflora Craib) สมอไทย (Terminalia chebula Retz. var. chebula) และมะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) พืชผักพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์เก็บมาจากบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย มากที่สุด รองลงมา ทุ่งนาหรือรอบหมู่บ้านปาใกล้เคียงหนองหรือริมคลอง ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้สามารถเป้นข้อมูลพื้นฐานด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านในอำเภอคีรีมาศอย่างยั่งยืน

Citation Key290