การศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2557
Authorsชนกร, เถี่ยวสังข์
Degreeรัฐประศาสนศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลองต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง ศึกษาปัจัยที่มีต่อการคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลองต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลจากประชาชนในตำบลบ้านคลอง และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลจากประชาชนในตำบลบ้านคลอง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาดด้วยตารางของKrejcie and Morgan ได้จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมุลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคาระห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานนำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของประชาชนบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก ทั้งหมด 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการบริหารและด้านการบริการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานพเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกาา มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง ส่วน อาชีพ ไม่มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านคลอง ส่วน อาชีพ ไม่มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคาดหวังของประชาชน ต่าการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลได้แก่ สามารถพัฒนาชุมชนให้เจริญ และคูแลทุกข์สุขประชาชนในเทศบาล ทำให้ประชาชนมีสวัสดิการที่ดีขึ้น มีรายได้ต่อหัวที่สูงขึ้นและการบริหารจัดการภายในมีโครงสร้างสาธารณูปโภคที่มีความสะดวกสบาย แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อยพัฒนาให้น่าอยู่น่าอาศัย ตามลำดับ

Citation Key291