การศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาลตำบลไผ่รอบ อำเภอประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

Primary tabs

Titleการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาลตำบลไผ่รอบ อำเภอประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsพิมพ์นภัส, ภูมิจารณ์
Degreeรัฐประศาสนศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็ก และเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลไผ่รอบ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลไผ่รอบและ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน ในเขตเทสบาลตำบลไผ่รอบ อำเภอประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป้นการวิจัยเชิงปริมาร ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาดด้วยตารางสำเร็จรูปของ "Taro Yamane" ที่จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ผลการวิจัย 1. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนทั้งหมด 5 ด้าน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการร่วมประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการร่วมเสนอแนะปรับปรุง 2.ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในกานแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าอายุระดับการศึกษา อาชีพและรายได้มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็ก และเยาวชน ส่วน เพศ สถานภาพสมรส ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็ก และเยาวชน ในเขตเทศบาลตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร 3. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน พบว่า เทศบาลตำบลควรตระหนักและใส่ใจในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่างชุมชน เพื่อร่วมติดตาม ดูแล เฝ้าระวังผุ้ค้าและผู้เสพยาเสพติดควรมีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสามารถปฏิบัติได้จริง และที่สำคัญควรมีสิ่งจูงใจสำหรับผู้ที่ชี้เบาะแสแหล่งยาเสพติด เช่น เงินรางวัล หรือเกียรติบัตร เป็นต้น ตลอดจนมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลในทุกระยะของกิจกรรม/โครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข้ปัญหาเสพยาเสพติดได้อย่างแท้จริง

Citation Key297