ปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Primary tabs

Titleปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsกัญญาวีร์, สมนึก
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อการศึกษาปัจจัยในการทำวิจัยอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและเปรีบยเทียบปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ ระยะเวลาที่งานมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะที่สังกัด ประชาการ ได้แก่ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 407 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นอย่างสัดส่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประมาณค่าโดยถามปัจจัยในทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะผู้วิจัย 2)ด้านแรงจูงใจในการทำวิจัย 3)ด้านคุณลักษณะของมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์หมายวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะผู้วิจัย และด้านแรวจูงใจในการทำวิจัยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคุณลักษณะของมหาวิทยาลันที่เอื้อต่อการทำวิจัย อยู่ในระดับปานกลางและเมืื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ด้านคุณลักษณะผู้วิจัย พบว่า การมีภาระงานสอนและงานธุระการอื่น ๆ มาก ส่งผลส่งผลต่อการทำวิจัยในระดับมากที่สุด ส่วนด้านแรงจูงใจในการทำวิจัย พบว่า ผลงานวิจัยสามารถใช้ข้อตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ได้ ส่งผลต่อการทำวิจัยในระดับมากที่สุด และด้านคุณลักษณะของมหาวิทยาลัยที่เอื้อการทำวิจัย พบว่า กลไกการประกันคุณภาพการศึกษามีส่วนผลักดันให้อาจารย์ทำวิจัยเพิ่มขึ้นในระดับมากที่สุด
ส่วนผลการเปรียบเทียบปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่มีเพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ ระยะเวลาที่ทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามต่างกันมีปัจจัยในการทำวิจัยไม่แตกต่างกัน ส่วนอาจารย์ที่มีอายุ และคณะที่สังกัดที่แตกต่างกัน มีปัจจัยในการทำวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Citation Key299