พฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีเด่น ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleพฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนดีเด่น ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2543
Authorsสมยศ, อู่ทองมาก
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
Universityมหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการศึกษาขั้นประถม, ผู้บริหารโรงเรียน, พฤติกรรม, ภาวะผู้นำ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการบริหาร ตามทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ 4 รูปแบบ คือ การบอก (Telling) การขายความคิด (Selling)การมีส่วนร่วม (Participating)และการกระจายอำนาจ (Delegating) โดยศึกษาพฤติกรรมรวม และแยกตามขนาดโรงเรียน ทั้งยังได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำ ตามทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ กับเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารโรงเรียน ของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ วิธีดำเนินการวิจัย ดำเนินการโดยการใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่นจำนวน 251 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 แบบคือ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีพฤติกรรมผู้นำตามสถานการณ์ต่างกัน 2. พฤติกรรมผู้นำเมื่อแยกตามขนาดโรงเรียนพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนทุกขนาด ใช้แบบผู้นำแบบมีส่วนร่วมเป็นอันดับที่ 1 เหมือนกัน แต่เมื่อเรียงลำดับของการใช้พฤติกรรมผู้นำทั้ง 4 แบบ จะมีความแตกต่างกัน ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลางใช้แบบผู้นำเรียงตามลำดับเหมือนกัน คือ แบบการมีส่วนร่วม แบบขายความคิด แบบกระจายอำนาจ และแบบบอก ส่วนผู้บริหารในโรงเรียนขนาดใหญ่ ใช้แบบผู้นำเรียงลำดับต่างออกไป คือ แบบการมีส่วนร่วม แบบกระจายอำนาจ แบบขายความคิด และแบบบอก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ กับเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก

Citation Key398
ไฟล์แนบ: