ปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลกระทบของการหย่าร้างในจังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลกระทบของการหย่าร้างในจังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2548
Authorsนิติญาณ์, ปัทมสิริวัฒน์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการหย่าร้าง, จังหวัดพิษณุโล, ผลกระทบของการหย่าร้าง, สาเหตุและผลกระทบ
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการหย่าร้างและผลกระทบของการหย่าร้างในจังหวัดพิษณุโลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการหย่าร้าง ด้านผลกระทบของการหย่าร้างและด้านความคิดเห็นต่อการดำรงชีวิตคู่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นคู่หย่าร้างในปี พ.ศ. 2547 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1,417 ราย และสุ่มออกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างโดดใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจชี่และมอร์แกน (Krejcie and morgan) จำนวน 302 ราย ซึ่งแจกแจงให้กระจายตัวไปอยู่ทั้ง 9 อำเภอ ของจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนด สัดส่วน (Quota Sampling) เพื่อให้คู่หย่าร้างในแต่ละอำเภอ และสุมอย่างง่ายเพื่อให้ได้ตัวอย่างคู่หย่าร้างที่เป็นตัวอย่างจากนั้นเก็บข้อมูลด้ววยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที ค่าการทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยค่าสถิติเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. คู่หย่าร้างที่ตอบแบบสอบถามเป็นหญิงมากที่สุด ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี และแต่งงานในช่วงอายุเดียวกัน โดยมีอายุห่างกันระหว่า 6 –10 ปี กันมีช่วงอายุของการอยู่ด้วยกันระหว่าง 6 –10 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาหรือตำกว่าทั้งในขณะแต่งงานและหย่าร้าง ส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 2,500 – 5,000 บาทต่อเดือน จึงมีอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ คู่หย่าร้างมักจะมีบุตรด้วยกัน 1 – 2 คน โดยที่บิดาและมารดาของคู่หย่าร้างยังคงอยู่ด้วยกัน สำหรับประเด็นของการเรียนรู้อบรมในเรื่องชีวิตคู่ พบว่า คู่หย่าร้างส่วนใหญ่เคยได้รับความรู้ในประเด็นนี้ทั้งก่อนและหลังการหย่าร้าง 2. ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการหย่าร้าง คู่หย่าร้างแสดงความคิดเห็นไว้ที่ระดับปานกลางโดยมีปัจจัยเป็นสาเหตุหลักจำนวน 8 ปัจจัย โดยเรื่องสำคัญใน 3 อันดับแรกดังนี้ได้แก่ ขาดความอดทนต่อพฤติกรรมของ คู่สมรสเป็นสาเหตุของการหย่าร้างมีความสำคัญในระดับสูงเป็นลำดับที่ 1 ไม่มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาของครอบครัว มีความสำคัญในระดับสูงเป็นลำดับที่ 2 และการที่คู่สมรสไม่มีความรับผิดชอบในครอบครัวเกี่ยว กับค่าใช้จ่าย มีความสำคัญในระดับสูงเป็นลำดับที่ 3 3. ผลกระทบของการหย่าร้าง คู้หย่าร้างแสดงความคิดเห็นในระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบที่มากที่สุดต่อการหย่าร้างคือ การที่ต้องทำงานและรับภาระตนเองและบุตรมากขึ้นเพียงประเด็นเดียว นอกนั้นเป็นผลกระทบในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นที่เป็นผลกระทบรุนแรงในระดับปานกลาง 3 ลำดับแรก คือมีความเครียดต่อปัญหาที่ต้องเผชิญ การขาดความอบอุ่นและคุณภาพชีวิตลดต่ำกว่าเดิม และถูกซุบซิบนินทาจากบุคคลรอบข้าง 4. ความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิตคู่ที่พึงประสงค์ คู่หย่าร้างให้ความคิดเห็นทั้งในภาพรวมและภาพย่อยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยมีข้อที่น่าสนใจ 3 ข้อแรกคือ คู่สมรสควรมีความซื่อสัตย์ คู่สมรสต้องไม่มีความลับต่อกันและกันและคู่สรรสต้องช่วยกันดูแลบุตร 5. แนวทางหรือยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการหย่าร้าง คือ ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติโดยวัฒนธรรมเป็นตัวประสาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัว ยุทธศาสตร์การแก้ไขค่านิยมที่มองว่าการหย่าร้างเป็นวิธีการแก้ปัญหาครอบครัวยุทธศาสตร์การสร้างครอบครัว และยุทธศาสตร์การสร้างรั้วล้อมบ้าน

Citation Key166
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf65.43 KB
PDF icon bib.pdf108.01 KB
PDF icon ch5.pdf189.6 KB
PDF icon ch4.pdf899.17 KB
PDF icon ch3.pdf96.04 KB
PDF icon ch2.pdf592.46 KB
PDF icon ch1.pdf185.94 KB
PDF icon con1.pdf291.92 KB
PDF icon abs.pdf145.96 KB
PDF icon app.pdf101.68 KB