การศึกษาเพื่อพัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว 6

Primary tabs

Titleการศึกษาเพื่อพัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว 6
Publication TypeThesis
Year of Publication2549
Authorsบุษกร, พรรณเชษฐ์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cityพิษณุโลก
Keywordsผู้พิพากษา
Abstract

การศึกษาเพื่อพัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้พัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสงเคราะห์เด็กหรืออบรมเด็ก และหน่วยงานที่เคยปฏิบัติงานในการสงเคราะห์เด็กโดยแบ่งวิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 การสร้างรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้พัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 และการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการศึกษา ได้แก่ ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 จำนวน 92 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการพัฒนา ได้แก่ ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 ที่เข้ารับการพัฒนาจำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่าในขั้นตอนการพัฒนา ได้แก่ เอกสารการอบรมเพื่อการพัฒนา และแบบทดสอบการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test, F – test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 มีบทบาทหน้าที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายดาน พบว่า ด้านบทบาทหน้าที่ในการดำรงตน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับมาก 2. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 ที่มีเพศต่างกัน มีบทบาทหน้าที่ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีบทบาทหน้าที่ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 ที่มีประสบการณ์ต่างกันมีบทบาทหน้าที่ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ภาค 6 ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างกัน มีบทบาทหน้าที่ในภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าบทบาทหน้าที่ในการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 6. รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 คือการอบรม 7. ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 6 ที่เข้ารับการอบรมมีบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมและมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Citation Key192
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf54.7 KB
PDF icon bib.pdf43.88 KB
PDF icon ch5.pdf210.21 KB
PDF icon ch4.pdf473.63 KB
PDF icon ch3.pdf127.86 KB
PDF icon ch2.pdf997.38 KB
PDF icon ch1.pdf133.75 KB
PDF icon con1.pdf139.08 KB
PDF icon abs.pdf124.58 KB
PDF icon app.pdf214.2 KB