ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 41 จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleปัญหาและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 41 จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsเกียรติศักดิ์, จันทร์ดี
Degreeครุศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัญหาและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษา สังกัดสำนักวานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกาาเขต 41 จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักวานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกาาเขต 41 จังหวัดพิจิตร กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และใช้กลุ่มประชากรทั้งหมด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษา 5 มาจตรฐาน ได้แก่ 1) การบริหารโดยโดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด 2) การบริหารอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมตามจรรยบรรณวิชาชีพ 3) การบริหารที่พร้อมรับการตรวจสอบ 4) การบริหารคุณภาพการศึกษา 5) การบริหารจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 56 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ปัยหาการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษาโดยภาพรวมพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาปัญหาการดำเนินงานรายมาตรฐานทั้ง 5 มาตรฐาน ก็พบว่า มาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือมาตรฐานที่ 1 การบริหารโดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยและมาตรฐานทีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มาตรฐานที่ 2 การบริหารอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการที่ดีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 จังหวัดพิจิตร 2.1 แนวทางในมาตรฐานที่ 1 การบริหารโดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดโรงเรียนควรคำนึงถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์หลักและจุดเด่นของโรงเรียนและศึกษาปัญหาของการให้บริการ แล้วนำปัญหามาวางแผนปรับปรุงแก้ไขตามเป้าหมายของโรงเรียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมตรงตามความต้องการที่ผู้รับบริการ โดยการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้รับบริการทราบข่าวสารการดำเนินงานของโรงเรียน จัดให้มีการดูแลสวัสดิภาพและการระดมทรัพยากรจากภายนอกมารองรับการใช้บริการของนักเรียน 2.2 แนวทางในมาตรฐานที่ 2 การบริหารอย่างมีคุณภาพ และจริยธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ผู้บริการโรงเรียนควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานที่ดีโดยยึดหลักจรรยาบรรรณเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ มีการทำงานที่มีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน มีบุคคลที่มีความสามารถทำงานได้ตรงตามความถนัดบริหารงานให้เข้ากับสถารการณ์ ยอมรับความคิดเห็นให้คำแนะนำ รวมทั้งร่วมแก้ปัญหาแลัสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 2.3 แนวทางในมาตรฐานที่ 3 การบริการที่พร้อมรับการตรวจสอบ ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ โดยประชุมชี้แจงนโยบายการปฏิบัติงาน เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงหรือแหล่งที่มาของปัญหา กำเนิดทิศทางการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ให้คำแนะนำและตอบข้อชักถามในการทำงาน สนับสนุนส่งเสริมทั้งในด้านของทรัพยากร ความรู้ คำแนะนำ มีการกกำกับติดตามการทำงานที่เน้นการกระจายอำนาจ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและการปฏิบัติงานที่ตรงตามเวลา 2.4 แนวทางในมาตรฐานที่ 4 การบริหารคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรมีกำหนดการบริหารคุณภาพการศึกษาไว้ในแผนพัฒนาของโรงเรียน ด้านการพัฒนาศักยภาพในเรียนรู้ของนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลัดสุตร สร้างความเข้าใจกับบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนที่มีปรสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สามารถเลือกรูปแบบที่มีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด มีกระบวนติดตามผ่านการนิเทศภายในและภายนอก 2.5 แนวทางในมาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพโรงเรียนมีการกำหนดแผนพัฒนางานสารสนเทศ เพื่อให้มีบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารสนเทศ จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนและพัฒนางานสารสนเทศให้มีศักนภาพเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยุ่ตลอดเวลา สนับสนุนอุปกรณ์ที่มีความพร้อมและมีการติดตามตรวจสอบระบบข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบัน

Citation Key301