การศึกษาสภาพและความต้องมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการศึกษาสภาพและความต้องมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2549
Authorsพานระลึก, สมศรี
Date Published2549-10-09
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityจังหวัดพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตาม เพศ อายุ เขตพื้นที่ การศึกษา และ ฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการ สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก 25 โรงเรียน จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตร ฐาน การเปรียบเทียบสภาพและความต้องการ มีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการศึกษาข นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ใช้สถิติการทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) และ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบโดย จำแนกตาม ตัวแปรเพศ ตัวแปรอายุ ตัวแปรเขตพื้นที่การศึกษาคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็น ต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน ตัวแปรฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพึ้นฐาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพึ้นฐาน มีความคิดเห็นต่อความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 4. เมื่อเปรียบเทียบโดย(จำแนกตามตัวแปร เพศ ตัวแปรอายุ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้ นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน ตัวแปรเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแปรฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญูทางสถิติที่ระดับ .05

Citation Key329
ไฟล์แนบ: